รูปแบบวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทย

Main Article Content

ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล
ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล
วงศ์ธีรา สุวรรณิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างจำนวน5 คน ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ และผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรรมการ หรือผู้ที่รับผิดชอบหลักวิสาหกิจชุมชน ในประเทศไทยเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีจำนวน 78,894 แห่ง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2559: 2)กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ (Hair, et al, 2010)      มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า :รูปแบบวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์เท่ากับ 96.75, P-Value เท่ากับ 0.12, GFI เท่ากับ 0.99, AGFI เท่ากับ 0.98 และ RMSEA เท่ากับ 0.01ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ด้านการจัดการความรู้ และ 3) ด้านวัฒนธรรมองค์การ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ

ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล

หลักสูตรบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ จังหวัดปทุมธานี

วงศ์ธีรา สุวรรณิน

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคาแหง

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2559). จำนวนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายที่อนุมัติการจดทะเบียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: httpwww.m-society. go.thlewt_news,php?nid. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 18 กรกฎาคม 2559).

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). บทบาทและภารกิจของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปีจจัยด้วย SPSร และ AMOร เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิตสำหรับงานวิจัย(พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bass, Bernard M. (1985). Leadership and Performances Beyond Expectations. New York: Free Press.

Bass, Bernard M. & Avolio, Bruce J. (1994).lmproving Organization Effectiveness through Transformational Leadership. Thousand Oaks, CA: Sage.

Denison, D. (2002). Denison Consulting organization culture Retrieved. [Ontine].htpp://wwww.Denisonculture.com/Cuture/cuture. ink.htm. (Available: 27 May 2014).

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multtivariate data analysis (7 ed.). New Jersey: Prentice Hal.

Kucza, Timo. (2001). Knowledge Management Process Model: Technical Research Centre of Finland. [Online]. https:/wwww.vt.fVinf/pdf/publications/2001/P455.pdf. (Available : 20 January 2001).

Kaplan, R.S. & Norton D.P. (1996). The balanced scorecard: Translating strategy in Action. Boston: Harvard Business Review.

Michael J. M. (2014). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. (แปลจาก Building the Learning Organization โดย กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Rose Su-Jung L. & Hsiao Jui-Kuo. (2014). The Relationships between Transformational Leadership, Knowledge Sharing, Trust and Organizational Citizenship Behavior. Internationat Journal of Innovation, Management and Technology. 5(3), 171-174.

Sami, A. Al-bahussin & Wael, H. El-garaihy. (2013). The Impact of Huran Resource Management Practices, Organisational Culture, Organisationa. Innovation and Knowledge Management on Organisational Performance in Large Saudi Organisations: Structural Equation Modeling With Conceptual Framework. International Journal of Business and Management. 8(22), 1-19.