การศึกษาแนวคิดและรูปแบบตะวันตกที่ปรากฏในงานออกแบบตกแต่งภายใน พระอารามหลวงทรงสถาปนาและปฏิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Main Article Content

ธนาพร ทศานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาแนวความคิดซึ่งเป็นกรอบในการกำหนดรูปแบบ สำหรับการออกแบบตกแต่งภายใน รวมถึงการศึกษารูปแบบตะวันตกที่ปรากฏในงานออกแบบตกแต่งภายในพระอารามหลวงทรงสถาปนาและปฏิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงในบริบททาง วัฒนธรรมของสังคมไทยสู่สังคมสมัยใหม่   ทั้งกลไกในการปรับเปลี่ยนคตินิยมสยามในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าว ประกอบกับความผันผวนของวิกฤตการณ์ประเทศอาณานิคมภายใต้ปีกแห่งอารยธรรมตะวันตก   เหตุผลต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยในการกำหนดแนวคิด  ซึ่งได้ก่อให้เกิดรูปแบบเฉพาะของงานออกแบบตกแต่งซึ่งปรากฏภายในพระอุโบสถของพระอารามหลวงในช่วงระยะเวลาดังกล่าว


วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบตะวันตกที่ปรากฏภายในพระอุโบสถของ พระอารามหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาและปฏิสังขรณ์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 4 แห่ง   โดยการรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว รวมทั้งการรวบรวมข้อมูล ลักษณะรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม และรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบในงานออกแบบตกแต่งภายใน พระอุโบสถของพระอารามหลวง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสังเกต การสำรวจ การบันทึกภาพ การสัมภาษณ์ และการสัมมนากลุ่มย่อยเพื่อรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปกรรมและสาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย


ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า แนวคิดที่นำมาใช้เป็นกรอบกำหนดรูปแบบในการออกแบบตกแต่งภายในนั้น ประกอบด้วยสองปัจจัยหลัก คือ ความเปลี่ยนแปลงแนวคิดคตินิยมของสังคมไทยและแนวทางการบริหารประเทศ แบบยอมรับ เรียนรู้ และปรับตน เพื่อดำรงไว้ซึ่งความมีอธิปไตยเหนือดินแดนสยาม โดยการเลือกวิธีการสื่อ ความหมายเชิงสัญลักษณ์ในอำนาจอธิปไตย ซึ่งแสดงออกด้วยการผสมผสานสุนทรียศาสตร์ทางความงามระหว่าง สยามนิยมร่วมกับประเพณีนิยม โดยมีการใช้รูปแบบตะวันตกในงานออกแบบภายในที่หลากหลายไม่เฉพาะเจาะจง รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น รูปแบบนีโอกอธิค รูปแบบนีโอคลาสสิค รูปแบบนีโอเรเนซองค์ และรูปแบบนีโอบารอค ผสมผสานกับรูปแบบไทยประเพณี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธนาพร ทศานนท์

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

References

ชัย เรื่องศิลป์. (2541). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ พ.ศ. 2352 - 2453. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์.

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2547). การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

แน่งน้อย ศักดิ์ศรี. (2527). มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.

ผุศดี ทิพทัส. (2535). สถาปัตยกรรม ย้อนมองอดีต พินิจปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เมฆาเพรส.

วิไลเลขา ถาวรธนสาร. (2546). บริบททางประวัติศาสตร์กับพัฒนาการทางภูมิปัญญาไทยในสมัยต้น รัตนโกสินทร์. วารสารดำรงวิชาการคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่2 เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ : ศิลปากร.

สันติ เล็กสุขุม. (2544). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ. __________. (2548). จิตรกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ความคิดเปลี่ยนการแสดงออกก็เปลี่ยนตาม . พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

สมชาติ จึงสิริอารักษ์. (2553). สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2480. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.

Aldrich, Robert. (2015). France and the King of Siam, An Asian King’s Visits to the Republican Capital. French : French History. Academic Journal Vol.6, 225-239.

Anderson, Benedict. (1983). Imagined Communities. London : Verso.

Brigitte Hintzen-Bohlen. (2005). Art & Architecture Rome. Mönchengladbac. Germany: Könemann & Tandem Verlag GmbH.

Fasoli, Vilma and Francesca B.Filippi. (2014). The penetration of Italian professionals in the context of the Siamese modernization. Rome: ABE Journal (Online), 5. Architecture beyond Europe.

Roskin, G Michael. , Cord, L Robert. , Medeiros, A James. Jones, S Walter. (1997). Political Science: An Introduction. United States of America : Pearson Education Limited.

Toman, Rolf. (2008). History of Architecture. Indonesia : Paragon Books Ltd.