ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา ต่อการรายงานผลการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 39 “พลศึกษาเกมส์” จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ราตรี เงางาม
สุริยา ประดิษฐ์สถาพร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพผู้ให้ข้อมูลข่าวสารในการรายงานผลการแข่งขันกีฬา 2) เพื่อศึกษารูปแบบและเทคนิคการรายงานผลการแข่งขันกีฬา 3) เพื่อศึกษาความรวดเร็วในการนำเสนอเนื้อหาการรายงานผลการแข่งขันกีฬา 4) เพื่อศึกษาแนวโน้มของพฤติกรรมในการรับข้อมูลข่าวสารการรายงานผลการแข่งขันกีฬากลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 58.8 อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่างอายุ 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.8 และสถานภาพส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 39.8


สำหรับ ผู้ตอบแบบประเมินที่มีความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพผู้ให้ข้อมูลข่าวสารที่นำมารายงานผลโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ด้านรูปแบบและเทคนิคโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 ด้านความรวดเร็วในการนำเสนอเนื้อหาการรายงานผล โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75ส่วนความแตกต่างด้านเพศ,อายุ,และสถานภาพ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับด้านประสิทธิภาพผู้ให้ข้อมูลในการรายงานผล ด้านรูปแบบและเทคนิคการรายงานผล ด้านความรวดเร็วในการนำเสนอเนื้อหาการรายงานผล และด้านแนวโน้มของพฤติกรรมในการรับข้อมูลข่าวสาร ไม่แตกต่างกัน โดยในทุกด้านมีระดับนัยสำคัญ 0.05


ด้านพฤติกรรมการเปิดรับสื่อภายในมีการเปิดรับข่าวสารส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย 3 ครั้ง/สัปดาห์ การรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อภายนอก หรือสื่อมวลชน พบว่า มีพฤติกรรมเปิดรับข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เฉลี่ย 2 ครั้ง/สัปดาห์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ราตรี เงางาม

สาขาสื่อสารการกีฬา คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์

สุริยา ประดิษฐ์สถาพร

สาขาสื่อสารการกีฬา คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์

References

ปรมะ สตะเวทิน. (2540). หลักนิเทศศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9) : ภาพพิมพ์.

ประชัน วัลลิโก. (2547). การรายงานข่าวด้านศิลปและวัฒนธรรมกีฬาเอกสารการสอนชุดวิชา การข่าวขั้นสูงและการบรรณาธิการ หน่วยที่ 11 นนทบุรี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พนม วรรณศิริ. (2544). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. กรุงเทพฯ สารพันธ์ศึกษา.พนัสดา ใบบัว. (2550). การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง แนวทางการพัฒนางานข่าวในโทรทัศน์สถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย,สาขาพัฒนาสังคมศาสตร์.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2550). วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). การประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สริตา พรพนาวัลย์. (2543). รูปแบบการนำเสนอข่าวกีฬาของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.รายงานโครงการเฉพาะบุคคลมหาบัณฑิตคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสกสรร สายสีสด. (2549). ระบบสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คพับลิชชิ่ง. Lewin, K. (1947). Channel of group life. Human Relations, 143-153.