การอนุรักษ์และสืบทอดประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น แบบมีส่วนร่วมของคนในตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลดงมูลเหล็กตามความคิดเห็นของคนในท้องถิ่น 2) เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลดงมูลเหล็กตามความคิดเห็นของคนในท้องถิ่น วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้าน พระ คณะครู ผู้อำนวยการสถานศึกษาในตำบลดงมูลเหล็ก แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สำคัญในตำบลดงมูลเหล็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลดงมูลเหล็กตามความคิดเห็นของคนในท้องถิ่น มีดังนี้ จากภาพเก่า ประกอบด้วย ภาพเก่าที่เกี่ยวกับเรื่องราว 4 กลุ่มคือ 1. วิถีชนคนดง 2. การแต่งงานคนดง 3. งานบวชคนดง 4. งานศพคนดง ประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย ประวัติตำบลดงมูลเหล็ก วัดราษฏร์บูรณะ วัดสว่างอารมณ์ หลวงพ่อทั่ง ตำนานเรื่องพระนางผมหอม ตำนานเรื่อง ตกแยกกุดสะกอย ตำนานเจ้าพ่อหลุมประสาท ภูมิปัญญา ประกอบด้วย 1. อาชีพ 2. การบริหารจัดการน้ำ 3. เครื่องมือทำมาหากิน 4. บุคคลเด่น เป็นศรีศักดิ์ ภักดิ์คนดง วัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลดงมูลเหล็ก ประกอบด้วย 1. ประเพณี 12 เดือน 2. สืบเหง้าชาวดง 3. ตำหรับอาหารชนคนดง 4. ภาษาชนคนดง 5. เป็น อยู่ คือ คน และนำข้อมูลมาจัดทำเอกสารเพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลดงมูลเหล็ก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
เฉลิม มลิลา. (2523). พฤติกรรมการสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : แสงจันทร์การพิมพ์.
ดนัย ไชยโยธา. (2537). พื้นฐานทางสังคมวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธิดา สารยา. (2539). ประวัติศาสตร์เก็บตกจากยุโรป. กรุงเทพฯ : สารคดี.
วีณา เอี่ยมประไพ. (2535). หลักฐานทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สุทธิพงศ์ วงษ์ไพบูลย์. (2550). ภูมิปัญญาทักษิณ. ใน เลิศชาย ศิริชัย (บก). ภูมิปัญญา ท้องถิ่นจากข้อเท็จจริงยกระดับสู่กระบวนทัศน์ความเข้มแข็งของชุมชน. นครศรีธรรมราช : สํานักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.