ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บเงินสมทบเนื่องจากกองทุนประกันสังคมประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บเงินสมทบได้ไม่ครบถ้วน ทั้งที่กฎหมายได้กำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นทะเบียนประกันสังคมและนำส่งเงินสมทบเพื่อรวบรวมไว้เป็นทุนสำหรับใช้จ่ายตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งกองทุน
จากการศึกษาพบว่า การจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 พบว่านายจ้างไม่ชำระเงินสมทบตามกำหนด โดยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่สามารถบังคับนายจ้าง ให้นำส่งเงินสมทบตามกำหนดเวลาที่มีอยู่มีความล่าช้า และยังไม่สามารถทำให้จัดเก็บเงินสมทบได้อย่างครบถ้วน อันก่อให้เกิดการค้างชำระเงินสมทบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขาดมาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีอาญาแก่นายจ้างกรณีที่มีการหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างแล้วไม่นำส่งเงินสมทบ และการที่นายจ้างแจ้งข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริงเป็นความผิดที่ให้เจ้าพนักงานสามารถใช้ดุลยพินิจเปรียบเทียบปรับ อันที่จะก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่อาจดำเนินการให้บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ รวมทั้งการที่กฎหมายไม่มีการกำหนดอายุความในการติดตามเกี่ยวกับการค้างชำระเงินสมทบ และเงินเพิ่มตามกฎหมายที่มีการนำเอากฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเทียบเคียงในการบังคับชำระหนี้นายจ้าง นอกจากนั้นยังพบว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายยังไม่สามารถจัดเก็บเงินสมทบได้ตามวัตถุประสงค์
จากการศึกษาขอเสนอแนะว่าเห็นควรมีมาตรการให้มีการวางเงินประกันตั้งแต่มีการขึ้นทะเบียน เพิ่มบทลงโทษนายจ้างที่มีการหักเงินสมทบแต่ไม่นำส่งให้มีความรับผิดทางอาญา และกรณีที่นายจ้างมีการแจ้งข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อมูลอันเป็นจริง ไม่ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจเปรียบเทียบปรับแต่ให้มีการส่งคำฟ้องต่อพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อศาล พร้อมทั้งให้นายจ้างรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเว้น ตลอดจนไม่ให้นำกฎหมายเกี่ยวกับอายุความมาบังคับใช้ในกฎหมายฉบับนี้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย. (2522). ความมั่นคงและประกันสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.
กุลพล พลวัน. (2553). สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย. กรุงเทพ ฯ:ภาพพิมพ์. _______. (2538). พัฒนาการสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ:วิญญูชน.
กัลยา พลวิเศษ. (2546). การติดตามเร่งรัดหนี้กองทุนเงินทดแทนสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานประกันสังคม.
กองวิชาการและแผนงาน. (2537). กฎหมายบำนาญแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลี. กรุงเทพฯ:สำนักงานประกันสังคม._______. (2541). กฎหมายประกันสังคมของประเทศฟิลิปปินส์. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.
จรัญ ภักดีธนากุล. (2555). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ผลและความระงับแห่งหนี้. กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย).
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2556). ประมวลกฎหมายอาญาฉบับอ้างอิง.(พิมพ์ครั้งที่ 32) วิญญูชน
สำนักงานประกันสังคม. (2542). แนวคิดและหลักการประกันสังคม. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานประกันสังคม.