การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร บนระบบปฏิบัติการไอโอเอส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาแอพพลิเคชั่นระบบอาจารย์ที่ปรึกษาบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส 2.ศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้งานที่มีต่อแอพพลิเคชั่นระบบอาจารย์ที่ปรึกษาบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส กลุ่มตัวอย่างได้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครที่ใช้สมาร์ทโฟนที่ใช้ปฏิบัติการไอโอเอส จำนวน 52 คน ผลการวิจัย 2 องค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบแรกด้านการใช้งานแอพพลิเคชัน มีผลการประเมินค่าเฉลี่ยระดับดีมาก ( x̄ = 4.81, S.D = 0.41) และองค์ประกอบด้านลักษณะของโปรแกรม มีผลการประเมินค่าเฉลี่ยระดับดีมาก ( x̄ = 4.77, S.D = 0.43) ดังนั้นระบบอาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส จึงเป็นช่องทางในการสนับสนุนอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อการเข้าถึงข้อมูลของนักศึกษาได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ยุภา สุธงษา และทัศนันทน์ ตรีนันทรัตน์. (2556). การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาออนไลน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 15(2), 86-92.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gartner. Worldwide Smartphone Sales to End Users by Vender in 4Q14. [online]. 2014 [cited 2015 January 10]. Available from: http://www.gartner.com/newsroom/id/2996817
Sanya Khruahong Tanaphong Meethong Pennapha Boonkhlai & Somyot Pomthong. (2013 May). The Development of Monitoring EMS Status Application via Mobile using JSON. In The Proceedings of 9th International Conference on Computing and Information Technology (IC2IT2013). King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Bangkok, Thailand. 596-600.