รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการด้วยการบูรณาการ ระหว่างข้อเสนอการพัฒนางานกับแผนการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการด้วยการบูรณาการระหว่างข้อเสนอการพัฒนางานกับแผนการพัฒนาตนเองของ ครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ ด้วยการบูรณาการระหว่างข้อเสนอการพัฒนางานกับแผนการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 2 กลุ่ม คือกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก เป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 1,317 คน และ มัธยมศึกษา จำนวน 1,209 คน ครู จำนวน 216 คน และผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 1-3 จำนวน 36 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 108 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 49 คน ครู จำนวน 15 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยผักไล จำนวน 9 คน ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถาม ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ครูสอนไม่ตรงกับสาขาที่จบ ขาดทักษะการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่มีความรู้การวัดผลและการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ไม่ใช้เทคโนโลยีในการสอน และมีการพัฒนาตนเองค่อนข้างน้อย ส่วนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ผลการสอบ O-NET ต่ำ ขาดแรงจูงใจในการเรียน ไม่ค่อยใฝ่เรียนรู้ และ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้ศึกษาค้นคว้า เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ นิสัยในการเรียน คุณภาพการสอนของครู การบริหารจัดการชั้นเรียน และ ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน
- รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการด้วยการบูรณาการ ระหว่างข้อเสนอการพัฒนางาน กับแผน การพัฒนาตนเองของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้การดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ เดมมิ่ง PDCA ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Plan : P) ได้แก่ สำรวจความต้องการในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ครูเสนอการพัฒนางาน และแผนพัฒนาตนเอง และโรงเรียนจัดทำแผนพัฒนาครู 2) การดำเนินงาน (Do : D) ได้แก่ พัฒนาศักยภาพทางวิชาการแก่ครูผู้สอน และครูผู้สอนพัฒนาตนเองเกี่ยวกับงานวิชาการ 3) การตรวจสอบ (Check : C) ได้แก่ การนิเทศติดตาม ประเมินผล โดยผู้บริหาร ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษา และ 4) การปรับปรุง (Adjust : A) ได้แก่ วิเคราะห์ปัญหา การพัฒนาประเมินผลการพัฒนา และจัดทำแผนพัฒนาครูผู้สอน
- ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ ด้วยการบูรณาการระหว่างข้อเสนอการพัฒนางานกับแผนการพัฒนาตนเอง พบว่า
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าคะแนนที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ สาระวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย สุขศึกษาและพลศึกษา สังคมศึกษาฯ ศิลปะ การงานอาชีพฯ วิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ ตามลำดับ
4.2 นักเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา ส่วนมากมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการด้วยการบูรณาการระหว่างข้อเสนอการพัฒนางาน กับแผนการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
เชาวฤทธิ์ จั่นมั่น และคณะ. (2549). การพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพของ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ดารณี ทองบ่อ. (2550). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2. ครุศาสตมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ตรีโชค กางกั้น. (2552). สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2558). Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://apr.nsru.ac.th/Act.../27022015155130_article.docx. (วันที่ค้นข้อมูล : 8 มีนาคม 2558).
วนิดา ดีแป้น. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย โดยการวิเคราะห์พหุระดับ. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ศรีเพ็ชร จันทร์ส่องศรี. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
ศศิธร ขันติธรางกูร. (2559). การบริหารชั้นเรียนของครูมืออาชีพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :www.km.ictbk.net/download /1319102120_book12.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2559).
สมควร จำเริญพัฒน์. (2552). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.
สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 มกราคม 2559)
สุริยันต์ อินทเจริญศานต์. (2552). สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
House, J. D. (2002a). The independent effects of student characteristics and instructional activities on achievement : An application of the input-environment-outcome assessment model. International Journal of Instructional Media. 29(2), 225-239.
Russell, J. D. & Butcher, C. (1999). Using portfolios in educational technology courses. Journal of Technology and Teacher Education. 7(4), 279 – 289. The Partnership for 21st Century Skills. (May 2, 2009). Learning for the 21st Century. [Online] Available from : http://www.p21.org/storage/documents/P21_Report.pdf. (accessed : 2 May 2009)
Wren, Gilbert. (1968). Study Habit Inventory. California: Stanford University Press.