กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ โอกาสและกลยุทธ์ ในยุคประเทศไทย 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในยุคที่ประเทศไทยใช้นโยบาย Thailand 4.0 เพื่อนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักความยากจน อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and biotechnology) เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชปลอดภัยของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ดำเนินงานภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP (Good Agricultural Practice) ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มเกษตรกร ภายใต้ชื่อกรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 81 ราย โดยส่วนใหญ่ปลูกพืชผัก/ผลไม้สด/ผลไม้แปรรูป และอยู่ในรูปแบบเกษตรกรรายเดี่ยว จากการวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) ที่มาจากปัจจัยภายนอก ตามแนวคิดของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยใช้ SWOT ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ยุทธศาสตร์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2561-2564 ที่กำหนดยุทธศาสตร์สนับสนุนการเกษตรปลอดภัย เป็นโอกาสแรกของกลุ่มเกษตรกรกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ นอกจากนี้การที่ โมเดิร์นเทรดขนาดใหญ่มีนโยบายในการรับซื้อสินค้าจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักปลอดภัย เป็นโอกาสที่สองที่กลุ่มเกษตรกรกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ได้รับ และโอกาสที่สาม คือ การเปิดตลาดกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ ณ พุทธอุทยานเพชบุระ เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ และโอกาสประการที่สี่ มาจากมิติของผู้บริโภค โดยกระแสความใส่ใจในสุขภาพและความนิยมสินค้าปลอดภัยมีมากขึ้น และเนื้อหาส่วนที่สอง ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategy) ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรในยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งประกอบไปด้วย การให้ความสำคัญกับนวัตกรรม (Innovation) การใช้กลยุทธ์การตลาดที่เน้นสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing : SMM) การใช้เครื่องมือวิเคราะห์แรงกดดันของธุรกิจ 5 ด้าน (Five Forces Model) และการใช้กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย (Network)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กระทรวงพาณิชย์. (2560). ภาพรวมสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.organic.moc.go.th/sites/default/files/attachments/news_journal/jan1.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 มิถุนายน 2561).
กระทรวงพาณิชย์. (2561). ระบบฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://organic.dit.go.th/RepFarm.aspx. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 มิถุนายน 2561).
เจษฎา อุดมกิจมงคล. (2554). รายงานการศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/study_report. (วันที่ค้นข้อมูล : 23 มิถุนายน 2561).
ฐาปนา ถิ่นไพศาล. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management. นนทบุรี : ธนธัชการพิมพ์.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ท็อปส์ ไทยแลนด์. (2559). กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/TopsThailand/photos. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 พฤษภาคม 2561).
ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร. (2555). การบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มณพิไลย นรสิงห์. (2560). การพัฒนาคนเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/daily/detail/9600000120293. (วันที่ค้นข้อมูล : 21 เมษายน 2561).
สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน. (2560). เครือข่ายกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tcjapress.com/2017/01/07/phetchabungreenmarket. (วันที่ค้นข้อมูล : 21 เมษายน 2561).
สยามรัฐออนไลน์. (2561). เปิดตลาดกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ แหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://siamrath.co.th/n/29528. (วันที่ค้นข้อมูล : 21 เมษายน 2561).
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ประเทศไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thailand-4-0-under-coninstitution-2560.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 21 เมษายน 2561).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdb.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 พฤษภาคม 2561).
สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). ข้อมูลสารสนเทศจังหวัดเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.phetchabun.go.th/data_detail.php?content_id=3. (วันที่ค้นข้อมูล : 21 เมษายน 2561).
สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.phetchabun.go.th/fileupload/data/1390314705_m14mqhsx.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 21 เมษายน 2561).
สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). บัญชีโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (2561-2564). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.phetchabun.go.th/dev_plan.php. (วันที่ค้นข้อมูล : 22 เมษายน 2561).
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2559). นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์. [ออนไลน]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nia.or.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 17 มิถุนายน 2561).
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). บทสัมภาษณ์นายสุพล ศรีทับทิม พาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/WNECO6101160010027. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 พฤษภาคม 2561).
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). จำนวนกรีนมาร์เก็ตจังหวัดเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.aecthaibiz.com/province/main.html?pv=67. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 พฤษภาคม 2561).
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. (2561). รายงาน The World of Organic Agriculture 2018. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://actorganic-cert.or.th/th/world-of-organic2018. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 มิถุนายน 2561).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2560 AGRICULTURAL STATISTICS OF THAILAND 2017. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.oae.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 พฤษภาคม 2561).
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (NEW ENGINE OF GROWTH). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.oie.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 พฤษภาคม 2561).
สำนักงานสถิติจังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). เนื้อที่ทำการเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ปี 2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://phchabun.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=505:agree60&catid=112&Itemid=596. (วันที่ค้นข้อมูล : 22 เมษายน 2561).
สุณัฐวีย์ น้อยโสภา. (2558, มกราคม-เมษายน). เกษตรอินทรีย์ โอกาสการส่งออกของเกษตรกรไทยในตลาดโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 9(18), 83 - 90.
สุธรรม รัตนโชติ. (2560). การบริหารธุรกิจและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ท้อป.
เสาวณี จันทะพงษ์ และพรชนก เทพขาม. (2561). นวัตกรรมการเกษตร:ทางออกปัญหาความเหลื่อมล้ำของไทย. เอกสารบทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย. 24 เมษายน 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications. (วันที่ค้นข้อมูล : 23 มิถุนายน 2561).
อนุพงษ์ อวรุทธา. (2559). Business 4.0 พลิกธุรกิจสู่เศรษฐกิจดิจิทัล. กรุงเทพฯ : เกรท ไอเดีย. Eichengreen, B. D. and Shin, K. (2011). When Fast Growing Economies Slow Down : International Evidence and Implications for China. National Bureau of EconomicResearch, Working Paper 16919.