ความเครียดและการเผชิญความเครียดของเกษตรกรชาวนาตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กาญจนา ปินตาคำ
พิณัฏฐิณีย์ จิตคำ
ธนพนธ์ คำเที่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและระดับการเผชิญความเครียดของเกษตรกรชาวนา ประชากรเป็นเกษตรกรชาวนา จำนวนทั้งหมด 495 คน ในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบสอบถามความเครียดและการเผชิญความเครียดจากการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบเกษตรกรชาวนามีความเครียดสูง ร้อยละ 92.70 มีการเผชิญความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบการเผชิญความเครียดด้านการเรียกร้องจากงานด้านจิตใจอยู่ในระดับสูง (3.18 ± 0.34) ส่วนการควบคุมหรืออำนาจการตัดสินใจในงาน (1.67 ± 0.28) และงานการสนับสนุนทางสังคม (1.64 ± 0.38) อยู่ในระดับต่ำ จากผลการวิจัยนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวางแผนการจัดการความเครียดและการช่วยเหลือให้เกษตรกรชาวนา สามารถเผชิญความเครียดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับบริบทต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กาญจนา ปินตาคำ, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อาจารย์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

พิณัฏฐิณีย์ จิตคำ, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อาจารย์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ธนพนธ์ คำเที่ยง, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อาจารย์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

กาญจนา บุญยัง. (2558). การฆ่าตัวตายของชาวนาในสังคมไทย : กรณีวิเคราะห์จากข่าวหนังสือพิมพ์. วารสาร การบริหารท้องถิ่น. 9(1).

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2557). โพลชี้คนไทยเครียด เหตุข้าวของแพง ค่าครองชีพสูงปรี๊ด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/content/456112. (วันที่ค้นข้อมูล : 5 พฤษภาคม 2561).

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. (2559). สำเนาเอกสารรายงานจำนวนเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย. (ข้อมูล ณ วันที่ 20 กันยายน 2559).

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร. (2559). เกษตรกรไทยปี 59 เป็นหนี้มากขึ้น ชี้ผลผลิตราคาตกและภัยธรรมชาติเป็นสาเหตุมากที่สุด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.citizenthaipbs.net/node/11670 (วันที่ค้นข้อมูล : 8 พฤษภาคม 2561).

ธนาวุฒิ ธรรมจักร. (2555). การเจ็บป่วยและบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากงานของเกษตรกรชาวนา ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิชญา พรรคทองสุข. (2552). แบบประเมินความเครียดจากงานชนิด Job Content Questionnaire ฉบับภาษาไทย. คณะแพทยศาสตร์หาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ หาดใหญ่ สงขลา ประเทศไทย.

พงศ์เพชร์ แสงศรี. (2556). การสำรวจภาวะความเครียดของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากภาวะวิกฤตภัยแล้ง. กลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิต 4 สุราษฎร์ธานี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

Karasak, R. A. (1998). Demand/Control Model : A Social, Emotional, And Psychological Approach to Stress Risk and Active Behavior Development. In The Encyclopedia of Occupational Health and Safety (4th ed., Vol. 2, pp. 34.36 – 34.14).

Lazarus, R.S., & Folkman, S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York : Springer. Publishing.