การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญา ศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาครู สาขาการศึกษาปฐมวัย

Main Article Content

สรวงพร กุศลส่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาครูสาขาการศึกษาปฐมวัย  2) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาครูสาขาการศึกษาปฐมวัย


กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ชั้น ปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 14 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ทดลองระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์ผู้สอนนักศึกษาครูจำนวน 1 คน และ ครูประจำการในสถานศึกษาระดับปฐมวัย จำนวน 14 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา แบบสำรวจความพึงพอใจในการอบรม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา แบบประเมินการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจของการใช้รูปแบบ  ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาครูสาขาการศึกษาปฐมวัย พบว่าบทบาทการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ ที่มีต่อนักศึกษา ด้านการกำหนดจุดประสงค์ ด้านการออกแบบการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการใช้ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ทุกด้านคิดเป็นร้อยละ 100 สำหรับผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา ก่อนการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 65.06 หลังการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 87.12 และมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น จากกระบวนการอบรมให้ความรู้ของนักศึกษา และครูพี่เลี้ยง พบว่ามีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̄ = 4.67, S.D. = 0.51) สำหรับผลการประเมินการเรียนรู้ ด้านความรู้ ความเข้าใจในการเรียนรู้ ก่อนการอบรม อยู่ในระดับ มาก ( x̄ = 3.78, S.D. = 0.61) และหลังการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̄ = 4.71, S.D. = 0.47) สำหรับผลการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบประเมินการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา  2) มีผลการประเมิน ตามประเด็นของตัวบ่งชี้ ทุกข้อคิดเป็นร้อยละ 100  สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาครูสาขาการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.35, S.D. = 0.67)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สรวงพร กุศลส่ง, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

รองศาสตราจารย์ ดร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

ชลลดา ทองทวี และคณะ. (2551). บทความการประชุมวิชาการประจาปี 2551 เรื่องจิตตปัญญาศึกษาการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ : โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2547). “การสอนแบบ Research-Based Learning” ในแบบแผนและเครื่องมือวิจัยทางการศึกษา. (หน้า 483 – 505. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ ทานอก และคณะ. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุวัฒนา จิตต์รัตนอรุณ. (2556). การศึกษาการนาแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสวาย. สุรินทร์ : โรงเรียนบ้านสวายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1.

ปฏิรูปการศึกษา, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน : เรื่องยากที่ทำได้จริง. กรุงเทพฯ : อัลฟ่ามิเล็นเนียม.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2546). กัลยาณมิตรนิเทศ. กรุงเทพฯ : ดับบลิว.เจ. พร็อพเพอตี้.

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2555). โครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Gordon, S.P. (2004). Professional development for school improvement : Empowering learning communities. Boston : Pearson.

Thrope, S. and Clifford, J. (2003). The coaching handbook : An action kit for Trainers & managers. London : Kogan Page.