ภาวะความยากจนและคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกร ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สุพิชชา โชติกำจร
ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนของครัวเรือนเกษตรที่ยากจนและภาวะความรุนแรง ความยากจนของครัวเรือนเกษตรในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยใช้ Head-count Ratio และ FGT-index  2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรโดยใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ของ UNDP และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนของครัวเรือนเกษตรโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบโลจิตส์ ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนเกษตรในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถาม


ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนเกษตรในจังหวัดเพชรบูรณ์มีสัดส่วนครัวเรือนที่ยากจนอยู่ที่ร้อยละ 11.50  และมีค่าความรุนแรงของความยากจนเท่ากับร้อยละ 4.13  ระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า หากหัวหน้าครัวเรือนมีการศึกษาต่ำกว่าภาคบังคับ ทำการปลูกข้าวหรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก มีผู้พึ่งพิงในครัวเรือนเป็นจำนวนมาก และมีรายได้จากการภาคเกษตรลดลง จะมีผลทำให้ครัวเรือนเกษตรมีโอกาสที่จะยากจนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้มีการขยายโอกาสทางด้านศึกษาให้แก่สมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกร และให้ความรู้ในเรื่องของการเกษตรแบบผสมผสาน ตลอดจนการเสริมสร้างกิจกรรมการผลิตนอกภาคเกษตรเพื่อสร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุพิชชา โชติกำจร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

เฉลิมศาสตร์ วิเชียรเพริศ. (2550). ภาวะความยากจนและการกระจายรายได้ของครัวเรือนเกษตรไทยปีเพาะปลูก 2547/48. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิพวรรณ ดวงปัญญา. (2549, 30 มกราคม-2 กุมภาพันธ์). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามสภาวะเศรษฐกิจพอเพียงของครอบครัวเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44. 562 - 572.

วรายุทธ พลาศรี. (2556, มกราคม - เมษายน). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนของครัวเรือนในชนบท : กรณีศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 7(1), 29-38.

สุพัตรา แตงเอี่ยม. (2544). การเปรียบเทียบการกระจายรายได้และภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตรไทย ในระหว่างปีเพาะปลูก 2541/42. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเดช ตระกูลคูศรี. (2541). การวิเคราะห์การกระจายรายได้และภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.phetchabun.doae.go.th/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กรกฎาคม 2559).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). บัญชีประชาชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries15.html#. (วันที่ค้นข้อมูล : 29 กรกฎาคม 2559).

อารีย์ เชื้อเมืองพาน. (2555, กรกฎาคม – ธันวาคม). ประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 16(2), 30 - 45.