การมีส่วนร่วมในสถาบันการเงินชุมชนของคนจนในจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

กิตติยาณี สายพัฒนะ

บทคัดย่อ

เรื่อง “การมีส่วนร่วมในสถาบันการเงินชุมชนของคนจนในจังหวัดสระแก้ว” มีวัตถุประสงค์ คือ  1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และทุนทางสังคม ของคนจนที่เป็นสมาชิกในสถาบันการเงินชุมชนจังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคนจนที่เป็นสมาชิกสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของคนจนที่เป็นสมาชิกในสถาบันการเงินชุมชนจังหวัดสระแก้ว วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ หัวหน้าครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี และยังขัดสนด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม อาจมีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่ได้รับการศึกษาหรือการศึกษาน้อย มีลูกมาก มีคนป่วยเรื้อรังอยู่ในครัวเรือน และเป็นสมาชิกในสถาบันการเงินชุมชนบ้านวังไหมจำนวนทั้งสิ้น 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 3 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. คนจนที่เป็นสมาชิกในสถาบันฯ เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.5 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 38.8 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 82.6 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 45.9 สมาชิกในครอบครัวมากกว่า 5 คน คิดเป็นร้อยละ 34.7 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน/คน 1,501 - 2,000 บาท ร้อยละ 83.8 มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน/คนต่ำกว่า 4,000 บาท ร้อยละ 76.8 มีหนี้สินต่อคน/เดือนต่ำกว่า 35,000 บาท ร้อยละ 88.5 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ร้อยละ 68.8 เช่าที่ดินทำกิน ร้อยละ 90.6 ไม่มีปัจจัยการผลิตของตนเอง ร้อยละ 85.0 ขนาดกลุ่มอาชีพต่ำกว่า 50 คน ร้อยละ 60.0 ระยะเวลาอาศัยอยู่ในชุมชนต่ำกว่า 10 ปี ร้อยละ 46.5 ระยะทางจากบ้านถึงสถาบันฯต่ำกว่า 30 กิโลเมตร จำนวน 74.7 การรับข่าวสารของคนจนที่เป็นสมาชิกในสถาบันฯ ส่วนใหญ่รับข่าวสารจากสมาชิกสถาบันฯ ร้อยละ 37.9 มีการพูดคุยกันระหว่างพ่อ แม่ ลูก ๆ บ่อยครั้ง ร้อยละ 70.6 มีการพูดคุยกับเพื่อนฝูงในหมู่บ้าน บ่อยครั้ง ร้อยละ 85.0 ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กติกาของสังคม ร้อยละ 73.8 ไม่มีการไปหาเครือข่ายกลุ่มอาชีพร้อยละ 55.9 มีความไว้วางใจเพื่อน ญาติ พี่น้อง ร้อยละ 78.5

  2. ระดับการมีส่วนร่วมของคนจนที่เป็นสมาชิกในสถาบันการเงินชุมชนจังหวัดสระแก้วมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( x̄ = 1.02 และ S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ( x̄ = 0.96 , S.D.= 0.67) ด้านการมีส่วนร่วมการวางแผนดำเนินกิจกรรม ( x̄  = 0.97 , S.D. = 0.67) และด้านการปฏิบัติการและดำเนินการ (  x̄ = 0.98 , S.D. = 0.68) ตามลำดับ

  3. สรุปผลการศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของคนจนที่เป็นสมาชิกในสถาบันการเงินชุมชนจังหวัดสระแก้ว พบว่า

                      3.1   ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศไม่มีความแตกต่างต่อการมีส่วนร่วมในสถาบันฯ แต่ อายุต่างกันมีส่วนร่วมในสถาบันฯแตกต่างกันในทุกด้าน ส่วนด้านการศึกษาและอาชีพ ต่างกัน การมีส่วนร่วมในสถาบันฯ แตกต่างกันในด้านการค้นหาปัญหาและเหตุผล ด้านการวางแผนดำเนินกิจกรรม และด้านการปฏิบัติงานและดำเนินการ จำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกัน การมีส่วนร่วมในสถาบันแตกต่างกันในด้านการปฏิบัติงานและดำเนินการ


                      3.2   ปัจจัยทางเศรษฐกิจ พบว่า รายได้ รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน หนี้สินต่อคน ต่างกัน มีส่วนร่วมในสถาบันฯ แตกต่างกันในทุกด้าน การเช่าที่ดินต่างกัน มีส่วนร่วมในสถาบันฯ แตกต่างกันในด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุ ด้านการวางแผนดำเนินกิจกรรม และด้านการปฏิบัติงานและดำเนินการ การมีปัจจัยการผลิตของตนเองต่างกัน มีส่วนร่วมในสถาบันฯ แตกต่างกันในด้านการปฏิบัติงานและดำเนินการ


                      3.3   ปัจจัยทางสังคม พบว่า ขนาดของกลุ่ม ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ระยะทางจากบ้านถึงสถาบันการเงิน การรับรู้ข่าวสาร ต่างกัน มีส่วนร่วมในสถาบันฯ แตกต่างกันในทุกด้าน


                      3.4   ทุนทางสังคม พบว่า การพูดคุยกันระหว่างพ่อ แม่ ลูก การพูดคุยกับเพื่อนฝูงในหมู่บ้าน การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคม การไปหาเครือข่ายกลุ่มอาชีพ การไว้วางใจเพื่อน ญาติ พี่น้องต่างกัน
มีส่วนร่วมในสถาบันแตกต่างกันในทุกด้าน


สรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคนจนที่เป็นสมาชิกในสถาบันการเงินชุมชนจังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ


  1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว

  2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ รายจ่าย หนี้สิน การเช่าที่ดินทำกิน ปัจจัยการผลิตของตนเอง

  3. ปัจจัยทางสังคม ขนาดกลุ่ม ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ ระยะทางจากบ้านถึงสถาบัน การรับรู้ข่าวสารของสถาบันการเงินชุมชน

  4. ทุนทางสังคม ความสัมพันธ์ในครอบครัว กินข้าวร่วมกัน พูดคุย กิจกรรมกับเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์ที่ดี การรักษา กฎ ระเบียบ กติกาของสถาบันชุมชนสังคม การหาเครือข่ายกลุ่มอาชีพ ความไว้วางใจเพื่อน ญาติ พี่น้อง ความน่าเชื่อถือในคำพูด

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และ ทุนทางสังคม มีส่วนร่วมของคนจนที่เป็นสมาชิกในสถาบันการเงินชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุนทางสังคมที่คนจนมีอยู่ ช่วยเปิดโอกาสให้คนจนได้รับรู้หรือเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการรับผลประโยชน์จากสถาบันฯ แม้นเพียงเล็กน้อยโดยผ่านสมาชิกคนอื่นแม้นตนเองจะไม่ได้เข้าร่วมในบางครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กิตติยาณี สายพัฒนะ, คณะบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา

อาจารย์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา

References

กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2535). “การพัฒนาประเทศภาวะมลพิษ และการมีส่วนร่วมของประชาชน”. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์, 31(3) : 13 – 31.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2542). ความเข้มแข็งของเครือข่ายหมู่บ้าน กข.คจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2552). คู่มือการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงาน “กระบวนการส่งเสริมการบริหารจัดการเงินทุนชุมชน” กรมการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2545). ความเข้มแข็งของเครือข่าย หมู่บ้าน กข. คจ. กรุงเทพฯ : ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2547). การบริหารจัดการทุนแบบมืออาชีพกรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. กรุงเทพฯ : รำไทยเพรส.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2527). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.

กรรณิการ์ ชมดี. (2524).การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ: ศึกษาเฉพาะกรณีโครงสร้างสารภี ตำบลท่าช้าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรามหาบัณฑิต สาขาการบริหารสังคม, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิตติกร สุนทรานุรักษ์. (2543). การพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง : กรณีศึกษาชุมชนศีรษะอโศก. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2534). “ทัศนะแบบองค์กรรวมในงานพัฒนา”. วารสารสังคมพัฒนา,19 : 3 - 4.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). ชุมชนนิยม : ฝ่าวิกฤติชุมชนล่มสลาย. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

กำธร ธิฉลาด และคณะ. (2544). การพัฒนารูปแบบการบริหารกองทุนหมู่บ้านของ ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ขนิษฐา กาญจนรังสีนนท์. (2542). การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (1พฤษภาคม 2551). ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วย การจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมืองแห่งชาติ พ.ศ.2544. http://www.villagefund.go.th

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (1 ตุลาคม 2551). ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.2549. http//www.villagefund.go.th

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (1 ตุลาคม 2551). ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.2551. http//www.villagefund.go.th

คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงาน กองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่. (2550). รายงานวาระการประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงาน กองทุนหมู่บ้านระดับ จังหวัด ครั้งที่ 2/2550. เชียงใหม่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่.

คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงาน กองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่. (2550 ข).รายงานวาระการประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ครั้งที่ 3/2550. เชียงใหม่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่.

คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน. (2551). รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย. กรุงเทพฯ : เครือข่ายสถาบันการเงินเพื่อคนยากจน.

เครือข่ายสถาบันการเงินเพื่อคนยากจน. (2553). รายงานสภาวการณ์ภาคการเงินระดับฐานรากประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง.

โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์. (2536). การพัฒนาประเทศไทย : แนวความคิดและทิศทาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกเบี้ย.

จรูญ สุภาพ. (2531). สารานุกรมรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

จามะรี เชียงทอง. (2549). สังคมวิทยาการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

จำนง ทองประเสริฐ. (2540). หลักการครองตน. กรุงเทพฯ : สนุกอ่าน.

จิตจำนง กิติกีรติ และชัยวัฒน์ สิทธิภราดาร. (2531). การพัฒนาชุมชน : การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : พัฒนาหลักสูตร.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2524). การระดมประชาชนเพื่อพัฒนาชนบท. ในจักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ (บรรณาธิการ). การบริหารงานพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2526). การบริหารการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2538). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. และอมรวิชช์ นาครทรรพ. (2539). การปรับปรุงโครงสร้างการจัดการศึกษาโอกาสเข้าสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้. ปฏิรูปการศึกษาการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์วิชาการ - มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงค์.

ฉัตรทิพย์ นาถสภา. (2539). แนวคิดการพัฒนาแบบพึ่งตนเองบ้านกับเมือง. กรุงเทพฯ :สร้างสรรค์.

ฉัตรทิพย์ นาถสภา. (2539). บ้านกับเมือง. กรุงเทพฯ : โครงการส่งเสริมสถาบันหมู่บ้าน ศูนย์วัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านอิสาน: สร้างสรรค์.

ฉัตรทิพย์ นาถสภา. (2545). ประวัติศาสตร์หมู่บ้านสู่ทฤษฎีสองระบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดา รักษ์พลเมือง. (2531). การศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบ กฎหมาย. (มีนาคม - เมษายน 2545). วารสารพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย, 183.

ชัยสิทธิ์ อนุชิตวงศ์. (2550). โอกาสการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อกับการลดปัญหาความยากจน.ในการประชุมวิชาการประจำปี เรื่องจะแก้ปัญหาความยากจนกันอย่างไร: แข่งขันแจกจ่าย หรือสวัสดิการ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทยวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2550. ชลบุรี : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ ชลบุรี.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2539). การจัดการแบบภาคีเพื่อการเรียนรู้อย่างมีองค์รวมในปฏิรูปการศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์วิชาการ - มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.

ชินรัตน์ สมสืบ. (2544). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : พิฆเนศพริ้นติ้งเซ็นเตอร์.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). เศรษฐศาสตร์การเมือง (เพื่อชุมชน). กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2542). คนจนไทย. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ ศรีสวัสดิ์. (2542). วิธีการวิจัยทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณรงค์ ศรีสวัสดิ์. (2552). เทคนิคการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ ศรีสวัสดิ์. (2555). การประยุกต์ทฤษฎีสังคมวิทยาในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2524). พฤติกรรมศาสตร์ เล่ม 2 จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาภาษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ดิเรก ฤกษ์สาหร่าย. (2527). การพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เดโช สวนานนท์. (2545). พจนานุกรมศัพท์ทางการเมือง. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

ตรวจเงินแผ่นดิน, สำนักงาน. (2549). โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. นนทบุรี : สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.

ตระกูล มีชัย. (2538). การกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ : สุขุมและบุตร.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2535). ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ติฟาฮา มุกตาร์. (2554). Microfinance การเข้าถึงทุนหนี้.http://www.gotomanager.com/news

ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วม : แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2550). ทศธรรม : ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2542). วิกฤตสังคมไทย 2540 กับบทบาทวิทยากรกระบวนการเล่มที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน.

ทองคูณ หงส์พันธุ์. (ม.ป.ป.). การศึกษากับการพัฒนา : แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคณะ. (2534). การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :บพิธการพิมพ์.

ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคณะ. (2541). หลักการพัฒนาชุมชน. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2548). การบริหารสังคมกับโครงสร้างสังคมไทย. กรุงเทพฯ :มิสเตอร์ ก๊อปปิ้

ธงชัย สันติวงษ์. (2523). องค์การและการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ธนาคารโลกประจำประเทศไทย. (2550). ตามติดเศรษฐกิจไทย ปี 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ธรรมรส โชติกุญชร. (2536). การบริหารแบบมีส่วนร่วม ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธวัช มกรพงษ์. (2531). แนวคิดบางประการเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทไทย. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง : ประชาคมประชาสังคม. ขอนแก่น : โครงการจัดตั้งมูลนิธิเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งชมรมวิชาการสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดือนตุลา.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2549). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. เชียงใหม่ : ศิริลักษณ์การพิมพ์.

นเรศ สงเคราะห์สุข. (2541). จากแนวคิดสู่การปฏีบัติ. เชียงใหม่ : สํานักงานโครงการพัฒนาที่สูง ไทย-เยอรมัน.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (16 มิถุนายน 2541). “ชุมเศรษฐกิจชน”. มติชน.

นิพนธ์ พัวพงศกร. (2534). ตลาดสินเชื่อนอกระบบในชนบทไทย: การศึกษาเรื่อง สัญญากู้ โครงสร้างตลาด พฤติกรรม และอัตราดอกเบี้ย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

นิรมล สุธรรมกิจ. (2551). สังคมกับเศรษฐกิจ กรณีศึกษาประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). กลวิธีแนวทางวิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ :ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). กถาพัฒนากร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

บุญธรรม ราชรักษ์. (2548). การคลังว่าด้วยการกระจายความเป็นธรรม. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปกรณ์ ปรียากร. (2530). ทฤษฎีและกลยุทธ์เกี่ยวกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ :คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2547). การปกครองท้องถิ่นไทยในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประยงค์ เนตรยารักษ์ และเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2530). โฉมหน้านายทุนผู้ให้กู้ในตลาดสินเชื่อชนบทไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ประยูร กาญจนดุล. (2538). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยูร ศรีประสาธน์. (2542). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานของคณะกรรมการการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประเวศ วะสี. (2527). วัฒนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ประเวศ วะสี. (2531). พึ่งตนเองในชนบท : อีกบทหนึ่งของการทบทวนโลกทัศน์แห่งการพึ่งตนเอง. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาขอนแก่น.

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม.กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

ประเวศ วะสี. (2537). วัฒนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

ประเวศ วะสี. (2541). ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคม และศีลธรรม.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2526). การประถมศึกษาในชนบทไทย. กรุงเทพฯ : โครงการดำรงสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ปรีดี โชติช่วง และคณะ. (2536). การพัฒนาชุมชนและการบริหารงานพัฒนาชุมชน.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

ปัทมาวดี ซูซูกิและคณะ. (2552). MICROFINANCE. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : Openbooks.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2552). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2548). กระบวนการเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ประจักษ์ ผลเรือง. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2548). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).

เผด็จการ กันแจ่ม. (2557). สุขภาพครอบครัวของประชาชนตำบลดำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์:วารสารเพชรราชภัฏเพชรบูรณ์สารปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม :มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2546). องค์กรการเงินชุมชน: กองทุนการพัฒนาเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

พระสุบิน ปณีโต. (26 เมษายน 2552). ปัทมาวดี ซูซูกิ. หมู่ 5 บ้านท่าพริก อำเภอเมือง จังหวัดตราด.

เพลินพิศ สัตร์สงวน. (2549). สถาบันการเงินเฉพาะกิจ: เครื่องมือของนโยบายรัฐการเข้าถึงผู้ที่ไม่ได้รับบริการจากธนาคารพาณิชย์. ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2549 วันที่ 9-10 ธันวาคม 2549. (29-41). ชลบุรี : โรงแรมแอบบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน ชลบุรี.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2553). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.

พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์. (2517). การสร้างพลังชุมชนโดยขบวนการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย์ เพชรมาก. (2544). ระบบการเงินผู้มีรายได้น้อย. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (ม.ป.ป.). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์. (2531). “การมีส่วนร่วมของประชาชน”. วารสารพัฒนาชุมชน.17(2) : 24 – 29.

เมธี ครองแก้ว และจินตนา เชิญศิริ. (มิถุนายน – กันยายน 2518). “การกำหนดระดับความยากจนในประเทศไทย”. วารสารธรรมศาสตร์, 5 : 46 - 68.

เมธี ครองแก้ว และปราณี ทินกร. (2528). “สภาวะความยากจนและการกระจายรายได้ของไทย ปี 2518-2519 และ 2525. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 3(4) :54 -1 00.

เมธี ครองแก้ว. (2536). “เส้นความยากจนเส้นใหม่สำหรับประเทศไทย” ใน ดิเรกปัทมสิริวัฒน์. (บก.). ความรู้นักเศรษฐศาสตร์ไทยปี 2535. กรุงเทพฯ : สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.

เมธี ครองแก้ว. (2540). “ความเปลี่ยนแปลงในสภาวะความยากจนและการกระจายรายได้ในประเทศไทย ปี 2505/06 ถึงปี 2535” ใน คุณหญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย. (บก). บทความเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี : ว่าด้วยเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ :ไทยอนุเคราะห์ไทย.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บางกอกบล็อก.

รากฐานไทย. (2549). http://www.rakbankerd.com

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ศักดิโสภาการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : หจก.ไอเดีย สแควร์.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2534). การพัฒนาชุมชน: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บางกอกบล็อก.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2541). การเมืองการปกครองของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2535). การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท.กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2550). เปรียบเทียบกองทุนหมู่บ้านไทยกับธนาคารกรามีน. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2555). โลกาภิวัตน์กับท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.

วรเดช จันทร์ศร. (2542). การบริหารโครงการพัฒนาของรัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :สหายบล็อกและการพิมพ์.

วรทัต ลัยนันทน์. (2546). การมีส่วนร่วมการปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. กรุงเทพฯ :บรรณกิจ.

วิชิต นันทสุวรรณ. (2547). ขบวนการชุมชนใหม่ การพัฒนาแบบแผนใหม่ทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาทรัพยากรชุมชน.

วิชุลดา มาตันบุญ. (2550). การจัดการกองทุนชุมชนในชนบท. เชียงใหม่ : หจก. วนิดาการพิมพ์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2530). ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของการพัฒนาชุมชน: ประชาชนข้าราชการ และผู้นำรัฐบาล. กรุงเทพฯ : โอเดี่ยนสโตร์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2546). การบริหารและจัดการเทศบาลในยุคปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โฟร์เฟซ.

วีระศักดิ์ อนันตมงคล. (2541). การจัดเวทีประชาคมด้วยกระบวนการ A-I-C. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.

วีระกิตต์ หาญปริพรรณ์ และคณะ. (2551). การมีส่วนร่วมในงานยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนคลองจระเข้น้อย ตำบลเกาะไร่อำเภอบ้านโพธิ์จังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานการวิจัยหลักสูตรนักบริหารระดับกลาง รุ่น 7 กระทรวงยุติธรรม.

วุฒิสาร ตันไชย. (2547). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น: ความก้าวหน้าหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ : คลังวิชา.

สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.

สมชัย จิตสุชน. (2547). “การพัฒนากับความยากจน” ในการสัมมนาเรื่อง การกระจายความเจริญในประเทศไทย. ชลบุรี : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้จอมเทียน.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2542). การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ:คณะรัฐประศาสนาศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สยาม ดำปรีดา. (2547). สังคมกับการปกครอง. กรุงเทพฯ : ไทยรายวัน.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2526). การพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2531). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางใช้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2541). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. กรุงเทพฯ : เอมีเทรดดิ้ง.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันสิทธิ์ ชวลิตธำรง. (2546). หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ :อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. (2545). เรียนรู้เพื่อแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. (2551). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ.2551 - 2553). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). รายงานการประเมินความยากจน ปี 2550.” สำนักงานพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.http://www.nesdb.go.th/portals/0/tasks/eco_crowd/Poverty% 202007.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานการวิเคราะห์. (2554). สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยปี 2554.

สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน. (2554). บทบาทของระบบการเงินระดับฐานรากในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง.

สุพรรณี ไชยอำพร และสนิท สมัครการ. (2546). การวิเคราะห์ทางสังคมเพื่อการพัฒนา.กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุภางค์ จันทวานิช และวรรณี ไทยานันท์. (2539). “แนวคิดและเครื่องชี้วัดการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประเทศไทย” ใน อนุชาติ พวงสำลี และอรทัย อาจอ่ำ. (บก.) การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุวิทย์ คุณกิตติ. (2548). หลักการพัฒนากองทุนเป็นสถาบันการเงินชุมชน. กรุงเทพฯ :สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

สุรชัย กังวล. (2552). การบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถาบันการเงินชุมชน.ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). ชาวบ้านชวนคิดภาพนิมิตการพัฒนา. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา.

เสรี พงศ์พิศ. (2544). แนวคิดแนวปฏิบัติ ประสบการณ์กองทุนหมู่บ้านสวัสดิการชุมชน.กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

เสน่ห์ จามริก. (2527). นโยบายกลวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณะสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

แสวง รัตนะมงคลมาศ. (2534). ทฤษฎีสังคม. กรุงเทพฯ : ชมรมพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมศักดิ์ สุจริตกุล. (2531). “แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเมือง”.วารสารท้องถิ่น, 12.

สถาบันการเงินชุมชน : Micro Finance. (24 สิงหาคม 2555). http://www.ndcthinktank.com

สมพิศ สุขแสน. (2 พฤศจิกายน 2555). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับแนวคิดการพึ่งตนเอง. http://www.libraly.uru.ac.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (10 กรกฎาคม 2555). http://social. nesdb.go.th

อคิน รพีพัฒน์. (2527). “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย”ในทวีทองหงส์วิวัฒน์. (บก). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภณการพิมพ์.

อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.

อคิน รพีพัฒน์. (2531). ปัญหาการพัฒนาชนบท บทเรียนจากกรณียกกระบัตรโครงการพัฒนาชนบทลุ่มน้ำแม่กลอง. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น.

องค์การอนามัยโลก. (20 August 2003). Health Impact Assessment (HIA). http://who.int/hia/about/en

อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2548). การศึกษาชุมชนเชิงพหุลักษณ์: บทเรียนจากวิจัยภาคสนาม. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

อภิชัย พันธเสน. (2539ก). พัฒนาชนบทไทย: สมุทัยและมรรค (แนวคิด ทฤษฎี และภาพรวมของการพัฒนา). กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อภิชัย พันธเสน. (2539ข). พัฒนาชนบทไทย : สมุทัยและมรรค (การเปลี่ยนแปลง และการบริหารจัดการ). กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อภิชัย พันธเสน. (2539ค). พัฒนาชนบทไทย: สมุทัยและมรรค (ความหวัง ทางออกและทางเลือกใหม่). กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อภิชัย พันธเสน. (2540). “วิกฤตการณ์ความยากจนและทางออก” ในพิทยา ว่องกุล. (บก). กลียุคกับหายนะเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง..

อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง (มหาชน).

อภิชัย พันธเสน. (2550). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อภิญญา กังสนารักษ์. (2544). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมลณัฐ ฉัตรตระกูล. 2548.การมีส่วนร่วมของสหภาคีของภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

อัมมาร สยามวาลา. (2534). “บทอภิอปราย” ในตีรณ พงศ์มฆพัฒน์. (บก). ทิศทางการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจไทยในทศวรรษ 1990 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

อัมมาร สยามวาลา. (2540). “เศรษฐกิจไทย : 50 ปีของการขยายตัว” ในคุณหญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย. (บก). บทความเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี : ว่าด้วยเศรษฐกิจไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.กรุงเทพฯ.

อรชร พรประเสริฐ. (2547). โครงการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสถาบันและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, (2): 1–17.

อรพินทร์ สพโชคชัย. (2539). ภาคราชการไทยและหุ้นส่วนใหม่ในการพัฒนา.ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2539 เรื่องปฏิรูปภาคราชการเพื่ออนาคตของไทย ในวันที่ 13-15 ธันวาคม2539. ชลบุรี : มูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

อารีย์ เชื้อเมืองพาน และธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2544). การพัฒนากลุ่มสะสมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. (ม.ป.ป.) : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน: พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา.กรุงเทพฯ: สำนักงากองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อาภรญ์พันธ์ จันทร์สว่าง. (2532). แม่บ้านเกษตรกรกับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานสารนิเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด.

อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. (2540). ระบบการศึกษากับชุมชน: กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เอนก นาคะบุตร. (2536). การสัมมนาภูมิปัญญาชาวบ้าน: เกษตรกับการพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ : (ม.ป.พ).