ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ของข้าวพื้นเมืองเพชรบูรณ์

Main Article Content

ศศิธร แท่นทอง
จีรภา เพชรวัฒนานนท์
อัคกะบัทคาน ปาทาน
ภาณุสิทธ์ มั่นคง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมและสำรวจศึกษาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ศึกษาสัณฐานวิทยาของข้าวพื้นเมืองมีการดำเนินการวิจัยใน 2 ขั้นตอนคือ 1) รวบรวมค้นหาข้าวพื้นเมืองโดยการสอบถาม การสัมภาษณ์ และถามการสนทนากลุ่ม 2) สำรวจศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูล เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับข้าวผลการวิจัยพบว่าข้าวพื้นเมืองเพชรบูรณ์มี 116 พันธุ์ ในอดีตคนเพชรบูรณ์มีการปลูกข้าวหลายพันธุ์เพื่อไว้บริโภคประจำวัน ทำขนมในการไหว้ผี และในประเพณีต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาแต่ปัจจุบันมีข้าวพื้นเมืองในอำเภอเมือง 11 พันธุ์ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกได้ในนาน้ำลึกริมแม่น้ำป่าสัก อำเภอน้ำหนาวปลูกข้าว 51 พันธุ์ข้าวพญาลืมแกงเป็นข้าวที่ปลูกไว้ทำข้าวหลามในประเพณีข้าวในอำเภอเขาค้อส่วนใหญ่เป็นข้าวของชนเผ่าม้ง เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกจะงอกเพียง 28 พันธุ์เท่านั้นจากทั้งหมด 50 พันธุ์ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ ข้าวจะใช้ทำข้าวใหม่ม้ง และจั๋วในประเพณีปีใหม่ม้งข้าวทั้ง 116 พันธุ์ ได้ศึกษาสัณฐานวิทยาโดยนำมาปลูกในแปลงทดลอง ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 บันทึกลักษณะประจำพันธุ์ตามสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ข้าวส่วนใหญ่เป็นข้าวไร่ เป็นข้าวเหนียว เกือบทุกพันธุ์มีแผ่นใบและกาบใบสีเขียว ในระยะกล้าข้าวเหลืองน้อย เทพี เกษตรรวงยาว ร่องขนุนเป็นข้าวที่โตเร็งที่สุด สีของหูใบส่วนใหญ่สีขาว ข้าวส่วนใหญ่ทรงกอตั้งจำนวนวันตกกล้าถึงออกดอกส่วนใหญ่ 90-105วัน น้ำหนัก 100 เมล็ดข้าวเปลือกของข้าวเหนียวขาวงาช้างหนักมากที่สุด 4.36±0.04 กรัม ข้าวเขี้ยวงูเบาที่สุด 1.62±0.06 กรัม รูปร่างข้าวกล้องส่วนใหญ่ค่อนข้างป้อม การเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมืองทำโดยส่งเสริมให้ปลูกข้าวอินทรีย์แล้วแปรรูปเป็นข้าวสารและข้าวกล้องจำหน่าย จากการวิจัยในครั้งนี้ยังมีข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรบางคนยังปลูกไว้บริโภคเพราะ เป็นข้าวที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น มีลักษณะพิเศษและมีรสอร่อย ควรมีการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองเพชรบูรณ์ หากไม่ได้รับการเรียนรู้ และอนุรักษ์ไว้อาจสูญไปจากท้องถิ่นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศศิธร แท่นทอง, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

จีรภา เพชรวัฒนานนท์, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถ

อัคกะบัทคาน ปาทาน, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ภาณุสิทธ์ มั่นคง, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวปลอดสาร

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวปลอดสาร

References

จินตนา สนามชัยสกุล, ชูใจ กินุญ, ศันสนีย์ อุตมอ่าง, กมล บุญเขต.( 2552). การสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านไทยหล่มเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์.(2522). เมืองศรีเทพ : อดีต - ปัจจุบัน.ศิลปากร. 52(6), 4-21

เบญจพร ศรีสุวรมาศและคณะ.(2556). ความหลากหลายของข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ กรณีศึกษา : ข้าวไร่พื้นเมืองในจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว.(2553) . การจัดการความรู้ภุมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรม อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2552). ร่วมใจคุ้มครองพันธุ์ข้าวไทยเฉลิมพระเกียรติ. นนทบุรี :
โรงพิมพ์มติชน จำกัด.

ศศิธร แท่นทอง เรวัติ รัตนวิชัย เกื้อกูล พิมพ์ดี และภาณุสิทธ์ มั่นคง (2556). การลดการใช้สารเคมีในการเกษตรทุนการผลิตของเกษตรกร ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อมลณัฐ ฉัตรตระกูล. (2555). การพัฒนาการผลิตและการตลาดข้าวเพื่อสู่มาตรฐานข้าวอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.