แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของจังหวัดสงขลา เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของจังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของจังหวัดสงขลาเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านอุปสงค์ และอุปทาน สำหรับด้านอุปสงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ จังหวัดสงขลา จำนวน 400 จำนวน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบที และในด้านอุปทาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่มกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของจังหวัดสงขลา และนักท่องเที่ยว จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความต้องการด้านการให้บริการทางมากที่สุด และจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ และสถานภาพที่แตกต่างกันมีความต้องการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพและรายได้แตกต่างกันมีความต้องการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่แตกต่างกันที่ระดับนักสำคัญทางสถิติ 0.05 สำหรับแนวทางการจัดการ
การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของจังหวัดสงขลา คือ การดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในจังหวัดสงขลา ซึ่งหน่วยงานบริการเชิงการแพทย์ทั้งของรัฐบาลและเอกชน จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพและบริการ โดยจะต้องมีระบบมาตรฐานการแพทย์ที่เข้มแข็ง และได้รับการรับรองมาตรฐานสากลของโรงพยาบาล JCIA (Joint Commission international Accreditation USA) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของโรงพยาบาลโดยเฉพาะ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
2 กุมภาพันธ์ 2558).
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก http://thai.tourismthailand.org
วิชัย ทองแตง. (2555). ชงโรดแมพ ชิงฮับHealth Care เอเชีย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thai-aec.com/ 432#ixzz3muFObVdL (วันที่ค้นข้อมูล : 25 มีนาคม 2558).
ณฤมล ประสิทธิ์. (2552). พฤติกรรมและความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่รับบริการจากโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
นาวีชื่นใจและกนกวดีพึ่งโพธิ์ทอง. (2555). พฤติกรรมและความต้องการที่มีต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัย มสด สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ : 8 ฉบับที่ : 3 เลขหน้า : 51-59
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2015). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนปี 55 : สร้างรายได้สะพัดในไทยกว่า 2,500 ล้านบาท. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.thai-aec.com/616#ixzz3ireNlKtS (วันที่ค้นข้อมูล : 2 กุมภาพันธ์ 2558).
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน. (2012). การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://artidbiomed.blogspot.com/2012/03/blog-post_31.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 กุมภาพันธ์ 2558).
Dawn. D. K. & Pal. S. (2011). MEDICAL TOURISM IN INDIA: ISSUES, OPPORTUNITIES AND DESIGNING STRATEGIES FOR GROWTH AND DEVELOPMENT. International Journal of Multidisciplinary Research .1( 3), 186-202.
TheBridges Magazine. (2010). การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thebridges magazine.com/ content.php?id=326. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 กุมภาพันธ์ 2558).