การนำเสนอรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษารูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 สร้างและปรับปรุงรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 126 คนเพื่อการศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน เพื่อปรับปรุงรูปแบบ และขั้นตอนที่ 3 ได้แก่ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 126 คน ในการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 คือ แบบสอบถามเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษาขั้นตอนที่ 2 คือ เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 3 คือ แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และทางไปรษณีย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมาก ทั้งในเรื่องคุณลักษณะของรูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ ซึ่งประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์ของเครือข่ายสถานศึกษา มีรายละเอียด 5 ข้อย่อย 2) โครงสร้างของเครือข่ายสถานศึกษา มีรายละเอียด 10 ข้อย่อย 3) บทบาทหน้าที่ของเครือข่ายสถานศึกษามีรายละเอียด 12 ข้อย่อย 4) คณะกรรมการเครือข่ายสถานศึกษา มีรายละเอียด 12 ข้อย่อย 5) การบริหารงานของเครือข่ายสถานศึกษามีรายละเอียด 9 ข้อย่อย และ 6) การระดมทรัพยากร มีรายละเอียด 9 ข้อย่อย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ จำกัด.
ณรงค์ ทุมแถว. (2553). การนำเสนอรูปแบบการบริหารงานของเครือข่ายสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ปฐมพงษ์ รินศรี. (2551). การพัฒนาการบริหารงานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิชัย แสงศรี. (2552). การศึกษาวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาในเขตชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ตันติยมาศ. (2550). รูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2549). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Norwich B. and Evans J.. (2007). Cluser : Inter school collaboration in meeting specialeducational needs in ordinary schools. [Online]. Available from https://www.ebscohot.com/detail?vid=11&hid=113&sid=3db3b-45f9 (Accessed on : 10/11/2007).
Ronald I. and Abrell. (1997). The Humanitics and Social Sciences. Dissertation Abstracts International (Western Illinois University, 1997). 1508-A.