คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ทำงานเป็นกะ ที่ปฏิบัติงาน ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ

Main Article Content

กัญญาภัทร อัศวพชระ
ขวัญลักษณ์ คำโฉม
ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ทำงานเป็นกะ ที่ปฏิบัติงานภายในสนามบินสุวรรณภูมิ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ทำงานเป็นกะ ที่ปฏิบัติงานภายในสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวนประชากร 60,000 คนจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งมีเพศชาย 185 คน และเพศหญิง 215 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปคำนวณหาขนาดตัวอย่างของ Taro Yamane ระดับความเชื่อมั่น 95% ที่โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวอโนว่าและวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย Scheffe Analysis ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 20-39 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงาน 2-5 ปี และมีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท มีระดับคุณภาพชีวิตโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ทำงานเป็นกะที่ปฏิบัติงานภายในสนามบินสุวรรณภูมิโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กัญญาภัทร อัศวพชระ, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ขวัญลักษณ์ คำโฉม, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

ศศิกานต์ โกมินทร์. (2555). “คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ชลบุรี 2”. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการจัดการ นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สรุปผลที่สำหรับผู้บริหารการสำรวจสุขภาพจิตในการทำงาน. กรมสุขภาพจิต, สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในการสํารวจสุขภาพจิต(ความสุข)คนไทย พ.ศ. 2558.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บิสิเนสอาร์แอนด์ดี.

ลัดดาวัณย์ สกุลสุข. (2550). “คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐาปนี วังกานนท์. (2556). “ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด”. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกการจัดการทั่วไปคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Shefail Srivastava. (2014). A Study On Quality Of Work Life: Key Elements &It’sImplications.BoomaKanpur Assistant Professor.

Peter M. Hart. (1994). Teacher quality of word life: Integrating word experiences, psychological distressandmorale Department of Psychology.University of Melbourne, Parkville, Vic 3052, Australia

Carlson, H.C. (1980). A model of quality of work life as a developmental process. Current and PracticeUniversity Associates

Richard E. Walton. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In LouesE.Davis and Albert B.Cherns (eds.). The Quality of Working Life. New York: Free Press.

Cooper, et al. (2001). Organizational Stress. Thousand Oaks,California: Sage

Davis. (1989). Human Behavior At Work : Organizational Behavior. Singapore : McGraw HillBookCompany.