รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของพยาบาลวิชาชีพในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

เอื้อนจิต พานทองวิริยะกุล
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
ยุพาพร ยุภาศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนากรอบแนวคิดรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด  2) เพื่อตรวจสอบสมมติฐานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ และ 3) เพื่อตรวจสอบยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของพยาบาลวิชาชีพในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลร้อยเอ็ดและเครือข่าย จำนวน 590 คน โดยสุ่มจากโรงพยาบาล 50% ของโรงพยาบาลในเครือข่ายสุขภาพ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้จำนวน 10 แห่ง หลังจากนั้นคำนวณสัดส่วนขนาดตัวอย่างเป็นรายโรงพยาบาล และสุ่มรายชื่อบุคลากรในแต่ละโรงพยาบาลตามสัดส่วน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์จากร่างตัวแบบเชิงสมมุติฐานชั่วคราว แบบสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของร่างความสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ การยืนยันโดยการอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path analysis) โดยใช้โปรแกรม AMOS


ผลการวิจัยพบว่า


1.  กรอบแนวคิดรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างเดียวมี 3 ตัวแปร คือการมีวิสัยทัศน์ ความไว้วางใจและแรงจูงใจภายใน และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ คือ การมีวิสัยทัศน์


2.  รูปแบบเชิงสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่า CMIN/df เท่ากับ 1.116ค่า p-value เท่ากับ 0.274 GFI เท่ากับ 0.986  AGFI เท่ากับ 0.972 RMR เท่ากับ 0.010  RMSEA เท่ากับ 0.015 NFI เท่ากับ 0.991 TLI เท่ากับ 0.998 และ CFI เท่ากับ 0.999  อิทธิพลรวมของตัวแปรสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์มากที่สุด คือ การมีวิสัยทัศน์ และการมีความไว้วางใจ ตามลำดับ องค์ประกอบทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพได้ ร้อยละ 91.90


3.  ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบมีความสอดคล้อง (Mdn = 5.00, IR =  0.00) และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 92.30)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เอื้อนจิต พานทองวิริยะกุล, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ดุษฎีนิพนธ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ยุพาพร ยุภาศ, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

References

จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.

นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.

วรรณภา ประไพพานิช สุปาณี เสนาดิสัย และ ยุวดี ฦๅชา. (2550). การคงอยู่ของพยาบาลในสถานบริการ สุขภาพของรัฐ. กรุงเทพฯ : กราฟิโกซิสเต็มส์.

วิจิตร ศรีสุพรรณ และ กฤษดา แสวงดี. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล วิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล. 27(1), 5-12.

สภาการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2555). มาตรฐานกำหนดตำแหน่งสายงานพยาบาล. กรุงเทพฯ : จุดทองจำกัด.

สุพรรณี พุ่มแฟง. (2558). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารเกื้อการุณย์. 22(2), 140-153.

สุภาพ ฤทธิ์บารุง. (2556). ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผล ของโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์, มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2556). การสำรวจแนวคิดภาวะผู้นำในองค์กรระดับศึกษาจาก Harvard Business Review 2010–2012 ใน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

สุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2556). การขาดแคลนพยาบาลกับการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ : ประเด็นท้าทายสำหรับ ผู้บริหารการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 23(1), 1-12.

DuBrin, A. J. (2007). Leadership : Research Findings, Practice, and Skills. 5thed. Boston : Houghton Mifflin.

Hughes, H., Williamson, K. and Lloyd, A. (2007). Critical incident technique. In : L. Suzanne (Ed.). Exploring methods in information literacy research. (pp. 49-66). Charles Sturt University: N.S.W.

Lee, V. and Henderson, MC. (1996). Occupational stress and organizational commitment in nurse administrators. Journal of Nursing Administration. 26(5), 21–28.

Moustaka, E. and Constantinidis, TC. (2010). Sources and effects of Work-related stress in nursing. Health Science Journal. 4(4), 210-216.