กลยุทธ์การบริหารการบูรณาการพันธกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ชาลี ตระกูล
เรขา อรัญวงศ์
ขวัญดาว แจ่มแจ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารการบูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารการบูรณาการพันธกิจและ 3) เพื่อทดลองและประเมินผลการใช้กลยุทธ์การบริหารการบูรณาการพันธกิจ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาปัญหา การบริหารการบูรณาการพันธกิจ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร จำนวน 12 คน สังเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำมาประกอบการทำกลยุทธ์  2) พัฒนากลยุทธ์โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำร่างกลยุทธ์ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน และตรวจสอบความถูกต้องของกลยุทธ์โดยการสัมมนา อิงผู้เชี่ยวชาญ 8 คน และ 3) ทดลองและประเมินผลกลยุทธ์ กลุ่มผู้ทดลองใช้ จำนวน 26 คน ตามมาตรการที่กำหนด ส่วนการประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้ 11 คน และประเมินโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน ผลการศึกษาพบว่า


1.  สภาพการบริหารการบูรณาการพันธกิจ มหาวิทยาลัยมีการกำหนดนโยบายการบูรณาพันธกิจไว้ในแผนกลยุทธ์โดยกำหนดตัวชี้วัดและมาตรการ มีการสนับสนุนงบประมาณการบูรณาการผ่านพันธกิจหลัก และการดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบพันธกิจหลัก ส่วนปัญหาการบริหารการบูรณาการพันธกิจ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการบูรณาการ โครงสร้างการดำเนินงานไม่ชัดเจน และการติดตามผลการดำเนินงานยังไม่เป็นระบบ


2.  กลยุทธ์การบริหารการบูรณาการพันธกิจมีการกำหนด 1 วิสัยทัศน์ 4 พันธกิจ 4 เป้าประสงค์ 4 ประเด็นกลยุทธ์ 8 กลยุทธ์ 21 ตัวชี้วัด และ38 มาตรการโดย8 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) พัฒนาระบบและกลไกการจัดทำแผนการบูรณาการพันธกิจ  2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจด้านการบูรณาการพันธกิจ  3) จัดโครงสร้างองค์กรเพื่อการบริหารการบูรณาการพันธกิจ  4) พัฒนาสมรรถนะผู้บริหารในการบริหารการบูรณาการพันธกิจ  5) พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการบูรณาการพันธกิจ  6) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการบูรณาการพันธกิจทั้งภายในและภายนอก  7) สร้างต้นแบบการบูรณาการพันธกิจ  และ 8) พัฒนาระบบและกลไกการกำกับติดตาม และประเมินผล การบูรณาการพันธกิจ ของมหาวิทยาลัย


3. ผลการทดลองใช้กลยุทธ์พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการบูรณาการพันธกิจพบว่า การจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านการบูรณาการพันธกิจทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการ มีการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานโดยมีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับพันธกิจการบริการวิชาการผ่านโครงการบริการวิชาการมากที่สุดรองลงมาเป็นทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ทำให้นักศึกษาได้นำความรู้ไปใช้ลดภาระงาน ประหยัดงบประมาณ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มทดลอง และได้องค์ความรู้ด้านการบูรณาการ 13 องค์ความรู้  และผลการประเมินกลยุทธ์กับกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ากลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้จริงตามบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ส่วนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ามีความสอดคล้องในระดับมาก ส่วนความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชาลี ตระกูล, สาขายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

เรขา อรัญวงศ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

References

การกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการ. (2547). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2013). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ขวัญตระกูล กลิ่นสุคนธ์. (2557). บูรณาการนวัตกรรมสู่งานบริการสารสนเทศ. วารสาร PULINET., 1(1), 93-102.

คณะกรรมการสนับสนุนจังหวัดแบบบูรณาการ. (2546). คู่มือผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, สำนักงาน. (2553). คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สำนักงาน. (2555). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

ปกรณ์ ปรียากร. (2544). การวางแผนกลยุทธ์: แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

ธีรพงษ์ มหาวีโร. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555- 2559). กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์.

ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ. (2543). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทางครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา, สำนักงาน. (2553). มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

วิจัยแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการ. (2551ก). กลไกการขับเคลื่อนการวิจัยของชาติ(CRO). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ : มุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.
Certo, S. C. and Peter J. P. (1991). Strategic Management : Concept and Applications.New York :Mcgraw-Hill.

David F.R. (1999). Strategic Management Concept Cases. New York : Macmillan.

John Ditch and Ellen Roberts. (2002). Integrated Approaches to Active Welfare and Employment Policies. Publisher: European Foundation for the Improvement of Living& Working Conditions