แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ชุมชน โดยใช้แนวคิดทาง SROI

Main Article Content

พึงรัก ริยะขัน

บทคัดย่อ

เมื่อกล่าวถึงศูนย์เรียนรู้ชุมชน จุดเริ่มต้นของแนวคิดเกิดจากการที่กรมการพัฒนาชุมชนเตรียมไว้สำหรับเป็นพลังขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยแนวคิดดังกล่าวมุ่งเน้นไปยังชุมชนที่มีศักยภาพและมีทุนชุมชนที่หลากหลาย หากสามารถจัดรูปแบบการบริหารจัดการทุนชุมชนให้สนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นการใช้พลังชุมชน โดยทุนชุมชนก็จะทำให้หมู่บ้านสามารถมีทักษะพัฒนาสู่ความยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นศูนย์เรียนรู้ชุมชนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ ของชุมชน โดยเน้นการกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เป็นศูนย์การเรียนรู้ของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชนที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้หลักการสำคัญของศูนย์เรียนรู้ชุมชน คือเป็นแหล่งเรียนรู้ทุกด้าน ทุกรูปแบบไม่เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นศูนย์กลางที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการพบปะสังสรรค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือในการพัฒนาตนเองและชุมชน  และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน


            การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชนถือว่าเป็นประโยชน์กับประชาชนเพราะเป็นโครงการที่ประชาชนได้รับประโยชน์จากการพึ่งตนเอง ดังนั้น หากได้มีการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม เพื่อประเมินความคุ้มค่าด้านผลประโยชน์ทางสังคมจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเพื่อการประเมินคุณค่าที่แผนงานหรือโครงการได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ซึ่งคล้ายกับการวิเคราะห์ผลตอบแทนต่อการลงทุนที่ทำกันอย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมมีหลักการโดยทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์หรือผลกระทบที่ถูกวัดและแปลงค่าเป็นหน่วยเงินเทียบกับเงินลงทุนที่ใช้ไป แต่ทั้งนี้การวิเคราะห์นี้ไม่ได้มุ่งไปที่ผลตอบแทนทางธุรกิจหรือผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจะรวมไปถึงผลลัพธ์จากปัจจัยพื้นฐาน 3 ด้าน คือ ผลทางเศรษฐกิจ ผลทางสิ่งแวดล้อม และผลทางสังคม ซึ่งทำให้การวิเคราะห์นี้มีการใช้อย่างแพร่หลายเพื่อประเมินการลงทุนในภาคสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาสังคมซึ่งการวัดผลประโยชน์เพียงผลลัพธ์ทางการตลาดเพียงอย่างเดียวอาจได้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ การวิเคราะห์นี้ยังสามารถประเมินผลตอบแทนที่เป็นผลโดยตรงมาจากแผนงานหรือโครงการนั้นๆ การวิเคราะห์อาจเป็นทั้งเพื่อการประเมินโครงการที่ได้ทำไปเสร็จแล้ว หรืออาจวิเคราะห์ผลตอบแทนเพื่อคาดการณ์ผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้น (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2557) ซึ่งการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมมีหลักการโดยทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์หรือผลกระทบที่ถูกวัดและแปลงค่าเป็นหน่วยเงินเทียบกับเงินลงทุนที่ใช้ไป ทั้งนี้การวิเคราะห์ไม่ได้มุ่งไปที่ผลตอบแทนทางธุรกิจ หรือผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจะรวมไปถึงผลลัพธ์จากปัจจัยพื้นฐาน ผลทางเศรษฐกิจและผลทางสังคม ซึ่งทำให้การวิเคราะห์นี้มีการใช้อย่างแพร่หลายเพื่อประเมินการลงทุนในภาคสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาสังคมซึ่งการวัดผลประโยชน์เพียงผลลัพธ์ทางการตลาดเพียงอย่างเดียวอาจได้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ แต่การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมนี้ยังสามารถประเมินผลตอบแทนที่เป็นผลโดยตรงมาจากแผนงานหรือโครงการนั้นๆ อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

พึงรัก ริยะขัน, สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นักศึกษาปริญญาเอก สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2551). การพัฒนาแผนชุมชน การบูรณาการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน. บริษัท สุภัชนิญค์ พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.

สถาบันการพัฒนาชุมชน. (2559). สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.train.cdd.go.th>idp57>phm.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2551). แผนหลัก สสส. 2552-2554. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2557 จาก http://www.thaihealth.or.th/node/6347.

Brooks. (2008). Social entrepreneurship : a modern approach to social value creation, Pearson Education Inc.

UNESCO. (1993). Quality of life improvement progrummers. Bangkok : UNESCO Regronal office.

UNESCO. (1995). APPEAL training materials for continuing education personnel (ATLP-CE) Vol.VIII:A manual for the development of learning centres. Bangkok:Principal Office for Asia and the Pacific.UNESCO