ทัศนคติต่อคนพิการ : ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันหรือขวางกั้น การสร้างความเท่าเทียม

Main Article Content

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว
วิรัญญา สุทธิกุล
ธีระวัฒน์ จันทึก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคนพิการในประเทศไทย  และ 2) เสนอปัญหาที่เกิดกับคนพิการในการเข้าถึงสิทธิที่พึงได้รับในประเด็นของการจ้างงานและการประกอบชีพ และการเข้าถึงสิทธิการบริการด้านสุขภาพและฟื้นฟูศักยภาพ รวมถึงนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่า การสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคนพิการจะต้องทำความเข้าใจความหมาย สาเหตุและประเภทของผู้พิการที่ถูกต้องเพื่อให้คนทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติที่มีต่อคนพิการจากเชิงลบที่มองผู้พิการเป็นภาระหรือปัญหาของสังคม เป็นทัศนคติเชิงบวก คือ เป็นผู้ที่ศักยภาพแต่อาจมีข้อจำกัดจากความบกพร่องบางประการ ซึ่งคนปกติจะต้องรับบทบาทเป็นผู้สนับสนุนให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตปกติร่วมกันคนอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสมรวมถึงการรับทราบสถิติของคนพิการในประเทศไทยเพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของคนพิการซึ่งแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนทั่วไปหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่ร่วมกัน และควรปฏิบัติต่อคนพิการอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกันโดยปัญหาจากการวิเคราะห์ประเด็นด้านการจ้างงาน การประกอบอาชีพ และสิทธิด้านสุขภาพ พบว่า ทัศนคติของคนในสังคมส่งผลกระทบเชิงลบหลายประการต่อคนพิการ เช่น นายจ้างที่มีความเข้าใจและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยงกับคนพิการ จนสร้างกำแพงทางความคิดขวางกั้นการจ้างงานคนพิการ การกำหนดภาระงาน การจัดสรรสภาพแวดล้อมและวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่สนับสนุนการทำงานของคนพิการ พนักงานในองค์การที่มีมุมมองต่อคนพิการว่ามีศักยภาพการทำงานไม่เหมาะสม ไม่ยอมรับคนพิการและแสดงการต่อต้านในการรวมกลุ่มการทำงาน รวมถึงการรับผลประโยชน์ร่วมกัน การเข้าถึงสิทธิการบริการด้านสุขภาพ คนพิการประสบปัญหาจากนโยบายที่ขาดความเข้าใจบริบทและข้อจำกัดของคนพิการ  จนก่อให้เกิดปัญหาด้านการเดินทาง ที่ยากลำบาก การสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่ไม่ครอบคลุม ขาดการให้ข้อมูลด้านสถานพยาบาล รวมถึงทัศนคติของเจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติต่อคนพิการเมื่อเข้ารับบริการด้านสุขภาพกล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีจุดเริ่มต้นจากความเข้าใจและทัศนคติต่อคนพิการที่ไม่ถูกต้อง ไม่เข้าใจบริบทและข้อจำกัดของคนพิการที่แท้จริงดังนั้น แนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของคนในสังคมต่อคนพิการที่ถูกต้อง ควบคู่กับการสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อระบุปัจจัยปัญหาจากคนพิการ เพื่อหาจุดดุลยภาพของความเหมาะสมระหว่างสิทธิที่พึงได้รับและความต้องการที่แท้จริงของคนพิการอันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่แท้จริงโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกคนในสังคมอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วิรัญญา สุทธิกุล, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อาจารย์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ธีระวัฒน์ จันทึก, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). “เปลี่ยนภาระเป็นพลัง: โอกาสและพื้นที่ทางสังคมของคนพิการ”. การสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 5, โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559ก). การดำเนินงานจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศ เดือนกันยายน2559 กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. สืบค้นเมื่อ 20ตุลาคม 2559, จากhttps://www.m-society.go.th/article_attach/17794/19977.pdf.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559ข). การดำเนินงานจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศ เดือนสิงหาคม 2559 กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/16279/19239.pdf.

กระทรวงส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2559). รายงานข้อมูลสถานการณ์คนพิการ ประจำเดือนกันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จากhttp://dep.go.th/th/page/รายงานสถานการณ์คนพิการ.

กุลภาวจนสาระ. (2555). ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย. ประชุมวิชาการ เรื่อง ประชากรและสังคม ครั้งที่ 8, ห้องกรุงธนบอลรูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2565. การประชุมระดมความคิดเห็นทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12.

ณัฐนันท์ คำภา, วิไลศักดิ์ กิ่งคำ และวิภาวรรณ อยู่เย็น. (2558). อัตลักษณ์เชิงบวกแฝงนัยเชิงลบต่อคนพิการ : ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ของคนพิการในสังคมไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 35(1): 125 – 148.

ทวีศักดิ์สิริรัตน์เรขา. (2554). คนพิการกับโอกาสทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2559, จาก http://www.happyhomeclinic.com/academy/dp01opportunity.pdf.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 126, ตอนพิเศษ 80 ง. (8 มิถุนายน): 45 - 47.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ. (2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125, ตอนที่ 28ก. (9 กุมภาพันธ์): 1-11.

พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. (2534). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 108, ตอนที่ 205. (25 พฤศจิกายน):1 - 8.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 116, ตอนที่ 74ก. (19 สิงหาคม): 4.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2550). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 124, ตอนที่ 61 ก. (27 กันยายน): 8 - 24.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2556). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 130, ตอนที่ 30 ก. (29 มีนาคม): 6 - 12.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 124, ตอนที่ 47. (สิงหาคม): 8 – 21.

วริษฐา ปิ่นวัฒนะ. (2550). ปัจจัยจูงใจในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตในองค์การ : กรณีศึกษา บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเหลวและเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์, มณเฑียร บุญตัน และอัครพรรณ ขวัญชื่น. (2545). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่องการแก้ไขกฎหมายที่กีดกันคนพิการในการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม ศึกษากรณี กฎหมายและกฎระเบียบที่จำกัดสิทธิคนพิการในการประกอบอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2559, จาก http://dep.go.th/law/file/p2.pdf.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2553). ประสบการณ์ในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ. โครงการ สนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2535). สาเหตุของความพิการเล่มที่ 16 เรื่องที่ 10 การฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการด้านการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2559, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/other sub.php?file=encyclopedia/saranugrom.htm.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). ป้องกันดูแลรักษา เด็กพิการแต่กำเนิด. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/31130-ป้องกันดูแลรักษาเด็กพิการแต่กำเนิด.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจความพิการ พ.ศ. 2555. สำนักงานสถิติสังคม กรุงเทพฯ.

อานนท์ วันลา. (2553). การสร้างเทคโนโลยีแห่งตัวตนของสมาชิกวุฒิสภาผู้พิการทางสายตา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตนครปฐมมหาวิทยาลัยศิลปากร.

Gudlavalleti, M.V.P., John, N., Allagh, K., Sagar J., Kamalakannan, S., and Ramachandra, S.S. (2014). Access to Health Care and Employment Status of People with Disability in South India, the SIDE (South India Disability Evidence) Study. BMC Public Health 14,1125-1132.

Palad, Yves Y., Barquia, Rensyl B., Domingo, Harvey C., Flores, Clinton K., Padilla Levin L., and Rame Jonas Mikko D. (2016). Scoping Review of Instrument measuring Attitudes toward disability. Disability and Health Journal 9, 354-374.

Park, Y., Seo, Dong G., Park, J., Bettini, E., and Smith, J. (2016). Predictors of Job Satisfaction among Individuals with Disabilities: An Analysis of South Korea’s National Survey of Employment for the Disabled. Research in Development Disabilities 53-54, 198-212.

Schur, L., Kruse, D., Blasi, J., and Blanck, P. (2009). Is Disability Disabling in All Workplaces? Workplace Disparities and Corporate Culture. Industrial Relation 48(3), 38 -410.

Siperstein, Gary N., Romano, neil., Mohler, Amanda., and Parker, Robin. (2005). A national survey of consumer attitudes toward companies that hire people with disabilities. Journal of Vocational Rehabilitation 24(1),3 - 9.

World Health Organization. (2011). World Report on Disability. WHO Press: Switzerland: 1 - 14.