ปัจจัยด้านส่วนบุคคลและปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครและเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยด้านลักษณะงาน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครกลุ่มประชากร ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจำนวนทั้งสิ้น 700 คน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างด้วยตารางสุ่มได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .921 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนการทดสอบค่า t การทดสอบค่า Fและสถิติทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความผูกพันต่อองค์การ ด้านบรรทัดฐานมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.28 และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการคงอยู่กับองค์การ มีค่าเฉลี่ย 3.96 2) ปัจจัยด้านลักษณะงาน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านลักษณะงานด้านความหลากหลายของงานมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.16 และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความมีอิสระในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ย 3.98 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การ พบว่า ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ส่งผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และปัจจัยด้านลักษณะงาน ด้านความหลากหลายของงาน ด้านความมีอิสระในการปฏิบัติงาน ด้านความท้าทายของงาน ด้านโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และโดยภาพรวม ส่งผลต่อความผูกพันต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ชลิตา แค่มจันทึก. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานความผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นด้านพฤติกรรมการทำงาน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เสริมศักดิ์ สรวญรัมย์. (2556). ความพึงพอใจในสวัสดิการและค่าตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจองค์การตลาดกระทรวงมหาดไทย (อต.). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปาริชาต บัวเป็ง. ( 2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทไดกิ้นอินดัสทรีส์ประเทศไทย (จำกัด). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประดิษฐพงษ์ สร้อยเพชร. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตการพิมพ์.
เนตรนภา นันทพรวิญญู. (2551). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ:จามจุรีโปรดักท.
สิรินาตย์ กฤษฎาธาร. (2552). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท การบินไทยจํากัด (มหาชน). มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วารุณี คำแก้ว. (2550). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อัจฉรา ชูเอน. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Allen, N.J. and Meyer, J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational and Organizational Psychology, Volume 63 Issue 1 (March 1990).