การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้แนวคิดของเจ้าหน้าที่ สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้แนวคิดของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสรรพสามิตภาค 2 ประกอบด้วย สำนักงานสรรพสามิตเขตพื้นที่ 9 จังหวัด และสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรีเพื่อกำกับดูแล 9 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี และสมุทรปราการ จำนวน 680 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 252 คน โดยการใช้สูตรในการคำนวณหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Proportional Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับธรรมาภิบาล 6 ประการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วม ที่มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.879 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์การทดสอบสมมุติฐาน ค่าสถิติที่ใช้คือ t - test และ One – way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 มีการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 มีการดำเนินงานตามหลักคุณธรรมเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม และหลักความคุ้มค่า ตามลำดับ ส่วนผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตาม หลักธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าเจ้าหน้าที่ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กรมสรรพสามิต. (2559). ยุทธศาสตร์กรมสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. เข้าถึงได้จาก : https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/mjaw/mtmx/~edisp/webportal16200131757.pdf. วันที่ค้นข้อมูล: 25 กรกฎาคม 2559.
ทองสุข มาตย์คำมี. (2549). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิศากร ช่างสุวรรณ. (2554). การใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. งานวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สำนักทรัพยากรการเรียนรู้ คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระมหาธรรมรัตน์ ธรรมยาฤทธิ์. (2550). การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลหนองคายจังหวัดหนองคาย ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการชุมชน. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
พิสมัย คูศรีพิทักษ์. (2553). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดสกลนคร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116, หน้า 24.
รัตน์กรณ์ จีนบุตร. (2552). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโพนสวรรค์. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช. (2550). กรุงเทพ : สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
วุฒิพงษ์ บัวช้อย. (2553). การศึกษาต้นแบบการบริหารตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. งานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.