การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกุด กรณีศึกษา : บ้านกุดชุม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำของ กุด การใช้ประโยชน์จากกุด และการหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากกุดอย่างยั่งยืน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพน้ำจากกุด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภท 3 ประชาชนมีการบริหารจัดการน้ำในกุด โดยการนำน้ำมาใช้ในการเกษตร ได้แก่ การทำนาปรัง การปลูกผักบุ้ง และการปลูกผักขะแยง สภาพความเข้มแข็งของชุมชนบ้านกุดชุมมีความเข้มแข็งอยู่ในระดับมากซึ่งการใช้น้ำร่วมกันของประชาชนจะมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำของกุด ประจำหมู่บ้านเพื่อการประสานงานและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำร่วมกันส่งผลให้การทำงานและมีความคล่องตัวมากขึ้น ทำให้กลุ่มผู้ใช้น้ำจากกุดมีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างเพียงพอตามความต้องการ และตรงตามช่วงเวลาส่งผลให้ประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำให้สะอาดและมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้องค์กรชุมชน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
อนันตชาต เขียวชอุ่ม. (2544). การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร : กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำแม่ยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
APHA, AWWA and WEF. (1985). Standard Methods for the Examination of water and Wastewater. ,18th ed. American Public Health Association Washington, D.C. pp.1-1 to 10-137.
Cohen, J.M. and N.T. Uphoff. (1977). Rural Development Participation : Concepts and Measure for Project Design. New York : Comet University.