การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ด้านการขนส่ง ด้วยรถบรรทุกจังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก(มาตรฐาน Q) เพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการขนส่ง เมื่อเข้าสู่ AEC
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ด้านการขนส่งด้วยรถบรรทุกของจังหวัดเพชรบูรณ์ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก (มาตรฐาน Q) จากกรมการขนส่งทางบกประชากรในการศึกษาคือ บริษัท ศันทนีย์โลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นประชากรแบบเจาะจง (Purposive) ที่กำหนด โดยสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ (2) แบบประเมินมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกวิธีการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) แสดงผลการวิเคราะห์ในรูปแบบตารางประกอบคำอธิบายเชิงเหตุผล
ผลการวิจัย พบว่า ด้านบริบทการดำเนินงานบริษัท ศันทนีย์โลจิสติกส์ จำกัด จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดดำเนินธุรกิจขนส่งด้วยรถบรรทุกไม่ประจำทางมีพนักงาน 26 คน รับจ้างขนส่งสินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตร มีจำนวนรถบรรทุกที่ได้รับอนุญาต รวม 41 คัน เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัดของมาตรฐาน Q พบว่า สถานประกอบการประสบปัญหาด้านการวางแผนการดำเนินงาน ด้านพนักงาน และด้านปฏิบัติการขนส่ง ด้านผลการประเมินความพร้อมตามตัวชี้วัดของมาตรฐาน Q ก่อนเข้าสู่กระบวนการวิจัย พบว่า สถานประกอบการ มีความพร้อมต่อการตรวจประเมิน จำนวน 8 ข้อกำหนด จาก 24 ข้อกำหนด คิดเป็นร้อยละ 33.33 ผลการวิจัยด้านการกำหนดแนวทางการพัฒนาพบว่า (1) สถานประกอบการต้องการพัฒนาโดยการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดของมาตรฐานให้แก่ผู้ประกอบการ และ (2) พัฒนาโดยการให้ผู้วิจัยลงพื้นที่สถานประกอบการ เพื่อให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาในการรวบรวมและจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามข้อกำหนดของมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก
ด้านผลการดำเนินงานในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พบว่า ภายหลังเข้าสู่กระบวนการวิจัย สถานประกอบการมีความพร้อมต่อการขอรับรองมาตรฐาน จำนวน 24 ข้อกำหนด (ร้อยละ 100.0) และผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการวิจัย พบว่า บริษัท ศันทนีย์โลจิสติกส์ จำกัด ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการขนส่งด้วยรถบรรทุก (มาตรฐาน Q) เลขที่ใบรับรอง ขบ.สนค.00045/2559 มีผลรับรอง 5 ปี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กรมอาเซียน. (2559). การเตรียมความพร้อมของไทยสู่การเป็นประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20140102-103348-182352.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 23 สิงหาคม 2559).
กาญจนาโมฆรัตน์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการขนส่งสินค้าของบริษัทนิ่มซี่เส็งขนส่ง 1988 จำกัด สาขาพุทธมณฑลสาย 5. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป) โครงการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2555). การศึกษาความพร้อมและการปรับตัวของสาขาบริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยเพื่อการเปิดเสรีการค้าบริการ:กรณีศึกษาของบริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าของประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปีที่ 29(3).
สถาบันนานาชาติเพื่อเอเชียแปซิฟิกศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2553). การเปิดเสรีโลจิสติกส์ อาเซียน: โอกาส ผลกระทบ และการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaifta.com/thaifta. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2559).