การสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของ กลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

วรพล วรสุวรรณโรจน์
พระครูรัตนสุตาภรณ์ .

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและลักษณะการสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก และ เพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คน และการสนทนากลุ่มย่อย 9 คน


          ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก ต้องเป็นไปตามระบบของกฎหมายและปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง  2. องค์ประกอบและลักษณะการสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลกต้องประกอบไปด้วยรูปธรรมและนามธรรม และ 3. รูปแบบการสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบกลุ่มทีมจัดตั้ง เป็นทีมที่กลุ่มการเมืองท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นมาในการรับใช้ประชาชน และ 2. รูปแบบกลุ่มอาสาพัฒนา เป็นกลุ่มที่มีจิตใจอยากพัฒนาท้องถิ่นของตนเองเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วรพล วรสุวรรณโรจน์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระครูรัตนสุตาภรณ์ ., สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). การสื่อสารกับพื้นที่สาธารณะ: ทัศนะของ Habermas มองสื่อใหม่มองสังคมใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.

บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย. (2544). บทกระชับความเข้าใจเรื่องพื้นที่สาธารณะและการสื่อสารในสื่อเก่าสื่อใหม่เชื่อมร้อย. กรุงเทพฯ : การพิมพ์จำกัด.

วรพล วรสุวรรณโรจน์. (2561). การสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิริรัตน์ รัตนกาญจน์. การสร้างพื้นที่ความเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะของสังคมไทย: ร่องรอยขีดเขียนในส้วมสาธารณะและเว็บบอร์ดในไชเบอร์สเปช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Mills, C. W. (1959). The power elite. New York: Oxford University Press.