ผลการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการวัดและการลงความเห็นของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกกไทร จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

มยุรี สีสอนการ
วัฒนา มัคคสมัน
ธัญรัศม์ นิธิกุลธีระภัทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวัดและความสามารถในการลงความเห็นของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชแบบผสมผสาน 


          กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนบ้านกกไทร จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แผนการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชแบบผสมผสาน  2) แบบทดสอบความสามารถในการวัดของเด็กปฐมวัย และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการลงความเห็นของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


            ผลการวิจัยปรากฏว่า ความสามารถในการวัดและความสามารถในการลงความเห็นของเด็กปฐมวัยของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชแบบผสมผสานสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มยุรี สีสอนการ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วัฒนา มัคคสมัน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ธัญรัศม์ นิธิกุลธีระภัทร์, โรงเรียนจารุวรรณ

อาจารย์ ดร. โรงเรียนจารุวรรณ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (อายุ 3-6 ปี).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

ชุลีพร สงวนศรี และทิพย์วัลย์ สีจันทร์. (2550). วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

นิตยา บรรณประสิทธิ์. (2538). พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย.

ปุณย์จรีย์ กัมปนาทโกศล. (2552). ผลการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2528). การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน. กรุงเทพฯ: โอเดียร์สโตร์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แม็ค.

สิปปนนท์ เกตุทัต. (2539). ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่อสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต.วิชาการอุดมศึกษา.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2560). ปัญหาสำคัญของการศึกษาไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://www.kruupdate.com/news/newid-3413.html. (วันที่ค้นข้อมูล: 5 พฤษภาคม 2560).

สุภัค แฝงเพ็ชร. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชประกอบการบันทึกที่มีต่อพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอราวรรณ ศรีจักร. (2550). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.