ทัศนะของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อป้ายภาษาจีนใน แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิราพร เนตรสมบัติผล
เดชา ชาติวรรณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจจำนวนและแบ่งหมวดหมู่ของป้ายประกาศภาษาจีนในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร รวมถึงสำรวจทัศนะของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อป้ายประกาศในแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว โดยผู้วิจัยได้สำรวจจำนวนและแบ่งหมวดหมู่ของป้ายภาษาจีนที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพมหานครทั้ง 13 แห่งและทำการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวน 400 คนที่มีต่อป้ายภาษาจีนในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ รวมถึงสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง


          ผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพมหานครทั้ง  13 แห่งมีจำนวนป้ายภาษาจีนที่ปรากฏอยู่ทั้งหมด 168 ป้าย แบ่งเป็น ป้ายให้ข้อมูล 120 ป้าย ป้ายเตือน 14 ป้าย ป้ายห้าม 33 ป้ายและป้ายจำกัดขอบเขต 1 ป้าย โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าป้ายภาษาจีนที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยวทุกกลุ่มนั้นมีจำนวนเพียงพออยู่ในระดับพอใช้ มีความต้องการป้ายให้ข้อมูลเป็นอันดับหนึ่งในทุกกลุ่มแหล่งท่องเที่ยว ด้านการใช้ภาษาบนป้ายภาษาจีน นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เห็นว่ามีความถูกต้องในระดับมากที่สุด และผลการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องกับผลสำรวจของนักท่องเที่ยวชาวจีนในทุกข้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จิราพร เนตรสมบัติผล, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

เดชา ชาติวรรณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=420&filename=index.(วันที่ค้นข้อมูล: 8 กรกฎาคม 2561).

ภัทรธนิษฐ์ ศรีจอมทอง. (2559). ภูมิทัศน์ภาษาในล้านนา. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์.

ศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์. (2558). รายงานการศึกษาส่วนบุคคลการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของนักท่องเที่ยวจีนกับผลกระทบต่อสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการกระทรวงการต่างประเทศ.

Wang Lin. (2011). An Investigation of C-E Translation of Tourism Public Signs in China.Humanities & Social Science Journal of Hainan University, 30(2), 58-62.

Hui Jingting. (2009). On Investigation and Analysis of the Tourism Signs and Their Translation.Journal of Changchun University of Science and Technology (Social ScienceEdition), 22(4), 585-589.

Song Defu, et al. (2011). English-Chinese Public Signs. Beijing: China & Power.