การประเมินผลการปฏิบัติงานที่สามารถทำนายหรือพยากรณ์อุปนิสัย พฤติกรรมการทำงาน สมรรถนะในการทำงาน ความสำเร็จในงาน และการปรับปรุงศักยภาพในการทำงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย

Main Article Content

อรพินท์ บุญสิน

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย  2) เพื่อศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานที่สามารถทำนายหรือพยากรณ์อุปนิสัย พฤติกรรมการทำงาน สมรรถนะในการทำงาน ความสำเร็จในงาน และการปรับปรุงศักยภาพในการทำงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งวิธีการประเมินและผู้ประเมินผลการปฏิบัติงาน และ 3) เพื่อเสนอวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ควรนำมาใช้ในการรถไฟแห่งประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 581 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ วิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยพหุ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ สุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อเสนอวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่การรถไฟแห่งประเทศไทยควรนำมาใช้คือ การประเมินมาตรฐานการทำงาน และการประเมินแบบ 360 องศา เนื่องจากสามารถประเมินได้ทั้งอุปนิสัย พฤติกรรม สมรรถนะ ความสำเร็จตามเป้าหมาย และการปรับปรุงศักยภาพ  2) ผู้บังคับบัญชาโดยตรงคือบุคคลที่เหมาะสมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมากที่สุด เนื่องจากสามารถประเมินได้ทั้งอุปนิสัย พฤติกรรม สมรรถนะ ความสำเร็จตามเป้าหมาย และการปรับปรุงศักยภาพของพนักงาน ส่วนการให้ผู้ใช้บริการประเมิน จะประเมินได้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่อง อุปนิสัย เช่นเดียวกับการให้เพื่อนร่วมงานและสมาชิกในทีมประเมิน ส่วนการให้พนักงานประเมินตนเอง ไม่สามารถประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายและการปรับปรุงศักยภาพได้ ส่วนการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมิน จะประเมินได้เพียงเรื่องเดียวคือ การปรับปรุงศักยภาพ ส่วนเรื่องอุปนิสัย พฤติกรรม และสมรรถนะไม่สามารถประเมินได้  3) วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า การประเมินมาตรฐานการทำงาน และการประเมินแบบ 360 องศา ส่วนวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ควรใช้เสริมคือ การประเมินโดยใช้มาตรประมาณค่า และ 4) วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านผู้ประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า การให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรง ผู้ใช้บริการ และเพื่อนร่วมงาน ประเมินพนักงาน เนื่องจากเป็นผู้ที่สามารถประเมินพฤติกรรม สมรรถนะ ความสำเร็จตามเป้าหมาย และการปรับปรุงศักยภาพของพนักงานได้ โดยเฉพาะการให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงประเมินพนักงานยังสามารถประเมินอุปนิสัยของพนักงานได้อีกด้วย ส่วนวิธีการที่ควรนำมาใช้เสริมคือ การให้พนักงานประเมินตนเอง และให้ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปิยะวัฒน์ จารุธนรัตน์กุล และอุทัย สวนกูล. (2559). เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ KPI&PMS. กรุงเทพฯ: สวนอักษร พริ้นติ้ง.

พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2548). การสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง: ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสนาธรรม.

วุฒิชาติ กัลป์ยาณมิตร. (2559). รถไฟไทย All way. กรุงเทพฯ: การรถไฟแห่งประเทศไทย.

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง. (2561). โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงานการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินการรถไฟแห่งประเทศไทย(รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2553). ขนาดของผล: ความมีนัยสำคัญทางปฏิบัติในการวิจัย. วารสารภาษาปริทัศน์, 25, 26-38

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ: ภาพรวมระบบ บริหารผลงานและระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล.

Ameen, A., & Baharom, M.N. (2019). The assessment of effects of performance appraisal purposes on employee performance in Nigerian civil service. Journal of Social Sciences and Humanities, 16(5), 1-17.

Carrol, S.J., & Schneier, C.E. (1982). Performance appraisal and review systems: The identification, measurement and development of performance in organizations. Glenview, IL: Scott, Forseman and company.

Iqbal, N., Ahmad, N., Haider, Z., Batool, Y., & ul-ain, Q. (2014). Impact of performance appraisal on employee’s performance involving the Moderating Role of Motivation. Oman Chapter of Arabian Journal of Business and Management Review, 3(1), 37–56.

Landy, F. J. & Farr, J. L. (1983). The measurement of work performance: Methods, theory, and applications. New York: Academic Press.

Mathew, U. & Johnson, J. (2015). Impact of performance appraisal system on employee motivation: With special reference to a multi-specialty hospital in Kerala. International Journal of Finance & Policy Analysis, 7(1), 33-38

Sulsky, Lome M. & William K. Balzer. (1988, August). Meaning and Measurement of Performance Rating Accuracy: Some Methodological and Theoretical Concerns. Journal of Applied Psychology, 73, 497-506.

Wayne F. Cascio. (1992). Managing human resources productivity quality of work life profits. New York: Mcgraw-hill.