กรอบความคิดด้านความล้มเหลวและความสำเร็จในการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประจำปีการศึกษา 2561
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบความคิดด้านความล้มเหลวและความสำเร็จในการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประจำปีการศึกษา 2561 วิธีการดำเนินการวิจัยโดยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 317 คน คือ นักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประจำปีการศึกษา 2561 การวิเคราะห์ข้อมูล ทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้ประกอบด้วย ด้านที่ 1 เชื่อว่าความสามารถทางปัญญาพัฒนาได้ (belief about intellectual ability) ในระดับเห็นด้วย ( = 4.76, S.D. = 0.77) ด้านที่ 2 ต้อนรับความท้าทาย ในระดับเห็นด้วย ( = 4.80, S.D. = 0.67) (Embrace Challenges) ด้านที่ 3 ยืนหยัดแม้เผชิญกับความพ่ายแพ้ (Persist in the face of setbacks) ในระดับเห็นด้วย ( = 5.01, S.D. = 0.42) ด้านที่ 4 การมองว่าความพยายามทำให้เกิดการเรียนรู้ (See effort as the path to mastery) ในระดับเห็นด้วย ( = 5.10, S.D. = 0.32) ด้านที่ 5 เรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ (Learn from criticism) ในระดับเห็นด้วย ( = 4.92, S.D. = 0.56) ด้านที่ 6 หาบทเรียนและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น (Success of others) ในระดับเห็นด้วย ( = 5.00, S.D. = 0.33)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2561, ตุลาคม-มีนาคม). ความท้าทาย ณ ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ของเด็กไทย : การศึกษาระบบ 4.0. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 1(1), 1-10.
บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา เคณาภูมิ. (2562, ตุลาคม- ธันวาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4), 235-244.
ธนะดี สุริยะจันทร์หอม และอารยา ปิยะกุล. (2558). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของโกรว์ธ มายด์เซตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์(รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ และคณะ. (2552). ความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย (Reliability). รายงานในรายวิชากระบวนวิชา 090800 การวิจัยขั้นสูงเพื่อพัฒนาการศึกษา. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา.