ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

อิฐ แย้มยิ้ม
ทินกร พูลพุฒ
กฤษณะ ดาราเรือง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการบริหารกับการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 314 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยการบริหารและการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษาด้านกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา (X2) ด้านผู้บริหาร (X1) และด้านบุคลากร (X3) เป็นตัวแปรสำคัญที่สามารถอธิบายตัวแปรตาม คือ การบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 75.50 (R square = .755)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตฐาน ดังนี้


            gif.latex?\hat{Y} =  1.423 + 0.368(X1) + 0.275(X2) + 0.071(X3)


            gif.latex?\hat{Z} =  0.601(X2) + 0.546(X1) + 122(X3)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อิฐ แย้มยิ้ม, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ทินกร พูลพุฒ, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

กฤษณะ ดาราเรือง, คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คณบดีคณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

References

กรวีร์ เกษบรรจง. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 เพชรบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 5(2), 56-68.

บรรหาญ บุญจันทร์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, บัณฑิตวิทยาลัย.

เพชรา กิติศณีวรพันธ์ วารา เพ็งสวัสดิ์ และชาญวิทย์ หาญรินทร์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(2), 77-82.

ราตรี สอนดี. (2559). ปัจจัยการบริหารทีส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ศึกษาศาสตร์.

ละออง รักนา ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ และจำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7.สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 3(2), 80-89.

สมเกียรติ มาลา. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร, บัณฑิตวิทยาลัย.

สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2562.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2, 1(2), 7-9.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2562). รายงานการประชุม เดือนมกราคม 2562 ครั้งที่ 9. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2554). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สุชาริณี ปันก้อน และทศพล ธีฆะพร. (2561). การบริการการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 212-223.

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะครุศาสตร์.

อังคลิตร ภูผิวผัน นวัตกร หอมสิน และประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์. (2562, ธันวาคม). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ฉบับเสริม, 59-74.

อันติมา ยัพราษฎร์. (2559). กลยุทธ์การนิเทศครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร.

อัมพวรรณ สิริรักษ์. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการนิเทศภายในตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับดีมาก. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ครุศาสตร์.

Glickman, C. D., Gordon, S. P., and Ross-Gordon, J. M. (2004). Supervision and instructional leadership A developmental approach. Boston, Mass: Allyn and Bacon.

Wiles, J. W., and Bondi, J. C. (2004). Supervision: A guide to practice (6th Ed.). New Jersey:Pearson.