รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานครและ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถามผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหาร ความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร โดยการสอบถามผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีระดับการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับระดับการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงจากระดับมากไปน้อย ได้แก่ องค์ประกอบด้านโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Structure) องค์ประกอบด้านกระบวนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Process) และองค์ประกอบด้านนโยบายการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานครพบว่า ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านนโยบายการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) 2) องค์ประกอบด้านโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Structure) และ3) องค์ประกอบ ด้านกระบวนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Process) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่ามีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี และผลการประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นประโยชน์
3. ความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีความเป็นไปได้ด้านการนำไปปฏิบัติงานจริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า องค์ประกอบด้านโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงมีระดับความเป็นไปได้ด้านการนำไปปฏิบัติงานจริงในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ องค์ประกอบด้านนโยบายการบริหารความเสี่ยง และ องค์ประกอบ ด้านกระบวนกระบวนการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีระดับความเป็นไปได้ด้านการนำไปปฏิบัติงานจริงในระดับมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
เจริญ ศรีแสนปาง. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงในโรงเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :เนติกุลการพิมพ์.
ประกอบ กุลเกลี้ยง. (2550). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการคอรัปชั่นในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ประภาพรรณ รักเลี้ยง. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน.(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ประวัติ ยงบุตร. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ปริษฐา ถนอมเวช. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาอาชีวศึกษา.(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2552). คู่มือการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:หน่วยตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมธีนัณท์ วันดี. (2559). การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์.
รักษิต สุทธิพงษ์. (2557). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการศึกษา.
สโรชิน สุวิสุทธิ์. (2557). โอกาสและอุปสรรคของการศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐานไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2555–2564). (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะศึกษาศาสตร์,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2556.). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษาเอกชน พ.ศ.2556– 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สกสค.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2560 - 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2560). กดดูรู้ที่เรียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://pdc.opec.go.th/index.php?index=report2. (วันที่ค้นข้อมูล : 11 พฤศจิกายน 2560).
Chubunpho, Imelda C. (2015). Managing Risks In Selected Philippine Dental Schools : Basisfor Development Of A Risk Management Model. International Journal of SocialScience and Humanities Research, 3(1), 401-407.
Farrell, A.M. and Rudd, J.M. (2009). FactorAnalysis and Discriminant Validity : A Brief Reviewof Some Practical Issues. [Online]. Retrieved from http://www.duplication.net.au/ANZMAC09/paper/ANZMAC 2009-389.pdf. (January 4, 2011).
Keeves, J.P. (1988). Educational Research, Methodology, and Measurement An International Handbook. 1st edition. Great Britain : A. Wheaton & Exeter.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970, 1 September). Determing Sample Size for ResearchActivities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Pattanajureepan, Pantep. (2014). Development of Risk Management System in Private SchoolGeneral Education. Asia Social Science, 10(1), 276-282.
Tacq, Jacqus. (1997). Multivariate Analysis Techniques in Social Science Research fromProblem Analysis. 2nd edition. London : Conwell Press.