การวิเคราะห์อัตถภาคในบทคัดย่อของวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์

Main Article Content

สพลเชษฐ์ ประชุมชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการเรียงลำดับของอัตถภาคบทคัดย่องานวิจัยของวารสารด้านวิทยาศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษากาลเวลา วาจก และประเภทของประโยคที่ใช้ในแต่ละอัตถภาค กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ บทคัดย่องานวิจัยของวารสารด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 50 บทคัดย่อ ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2561 โดยการเลือกแบบเจาะจง จากนั้นทำการวิเคราะห์อัตถภาคตามทฤษฎีของ Santos (1996) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียงลำดับของอัตถภาคบทคัดย่องานวิจัยของวารสารด้านวิทยาศาสตร์ พบการเรียงตัวของอัตถภาค 5 รูปแบบ และมักจบการเขียนบทคัดย่อด้วยการอภิปรายผลการวิจัย (M5) และ 2) การใช้ภาษาในอัตถภาค ในบทคัดย่องานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ จำแนกได้ดังนี้ กาลเวลา (tenses) พบมากที่สุดคือ อดีตกาล (past tense) คิดเป็นร้อยละ 53 วาจก (voices) พบมากที่สุดคือ กรรตุวาจก (active voice) คิดเป็นร้อยละ 66 และประเภทของประโยค (types of sentence structures) พบมากที่สุดคือ เอกรรถประโยค (simple sentence) คิดเป็นร้อยละ 59

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สพลเชษฐ์ ประชุมชัย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

กรกนก รุณย์คติ. (2556). โครงสร้างและข้อผิดพลาดทั่วไปในบทคัดย่อฉบับภาษาอังกฤษ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ เป็นภาษานานาชาติ.

กรกนก รุณย์คติ และมณฑา จาฏุพจน์. (2557). องค์ประกอบและข้อผิดพลาดในบทคัดย่อฉบับภาษาอังกฤษ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 6(2), 110-126.

ชนิภรณ์ ภู่มณี และทรงศรี สรณสถาพร. (2560). การศึกษาการเรียงลำดับของอัตถภาคและการใช้ภาษาในบทคัดย่อของบทความปริทัศน์ในสาขาวิชาสัตว์ทดลอง. ภาษาปริทัศน์, 32, 1-28.

ชัชนันท์ ยาทิพย์ และทรงศรี สรณสถาพร. (2559). การศึกษาอัตถภาคและการเรียงลำดับของอัตถภาคในบทคัดย่อทางวิทยาศาสตร์จากวารสารที่มีคุณภาพและวารสารประเภทด้อยคุณภาพ. Journal of English Studies, 11(1), 88-125.

ญาณัชพิมพ์ ภาสวรเวทย์. (2555). ปริจเฉทวิเคราะห์ของบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ชั้นปริญญาโทและวิทยานิพนธ์ชั้นปริญญาเอกสาขาภาษาศาสตร์ซึ่งเขียนโดยนักศึกษาในประเทศไทยและนักศึกษาในประเทศอังกฤษ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2551). คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nurse.cmu.ac.th/web/images/userfiles/files/s-announce13.pdf.(วันที่ค้นข้อมูล : 11 พฤศจิกายน 2561)

ปิยนารถ สิงห์ชู. (2555). ทำไมบทคัดย่อจึงมีความสำคัญ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org/posts.(วันที่ค้นข้อมูล : 2 กันยายน 2561)

ไพศาล แย้มวงษ์. (2561, 6 กรกฎาคม). การวิเคราะห์อัตถภาคของบทคัดย่อภาษาอังกฤษของบทความทางวิชาการสาขาวิชาจิตวิทยา. ใน มหาวิทยาลัยเกษตร, การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติทางจิตวิทยา ประจำปี 2561 หลากหลายอย่างกลมกลืนในมุม (มอง) จิตวิทยา (น. 1-13). กรุงเทพฯ.

Bhatia, V. K. (1993). Analyzing Genre: Language Use in Professional Settings. London: Longman.

Santos, D. (1996). The Textual Organization of Research Paper Abstracts in Applied Linguistics. Text, 16(4), 481-499.

Swales, J. M. (1990). Genre Analysis. Cambridge: Cambridge University Press.

Taddio, A., Pain, T.,Fassos, F, F., Boon H., Ilersich A, L. and Einarson, T, R. (1994). Quality of Non-Structured and Structured Abstracts of Original Research Articles in the BritishMedical Journal, the Canadian Medical Association Journal and the Journal of the AmericanMedical Association. CMAJ-JAMC, 10(150), 1611-1615.