โอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์

Main Article Content

วัชระ ยี่สุ่นเทศ
ชนิกานต์ พนมอุปถัมภ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อจำนวนครั้งของการซื้อผลิตภัณฑ์ ป่านศรนารายณ์ของหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน  อาชีพ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ปัจจุบันกับผลิตภัณฑ์ใหม่  ของหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย และด้านกิจกรรมการส่งเสริมการตลาด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีประสบการณ์การซื้อสินค้าป่านศรนารายณ์  โดยให้ตอบแบบสอบถาม เลือกตัวอย่าง จำนวน 397 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่ออธิบายข้อมูล  เชิงประชากรศาสตร์ และใช้สถิติ  Pearson Chi-Square (P) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์และ Paired Simples T-Test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร


ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งสิ้น 397 คน จำแนกได้เป็นเพศหญิง จำนวน 309 คน เป็นผู้ที่มีอายุ 41-50 ปี มากที่สุด มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน 192 คน มีรายได้เฉลี่ยเดือน เท่ากับ 50,001 บาทขึ้นไป มากที่สุด มีอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชนมากที่สุด จำนวน 191 คน  พฤติกรรมการซื้อสินค้าป่านศรนารายณ์ ประเภทสินค้าที่ซื้อกระเป๋ามากที่สุด จำนวน 214 คน มีความถี่ในการซื้อ 2-3 ครั้ง มากที่สุด และพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ ที่ต่างกันมีความความสัมพันธ์ต่อจำนวนครั้งของการซื้อสินค้าป่านศรนารายณ์ ผลการเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังก่อนซื้อกับความพึงพอใจหลังซื้อสินค้าปัจจุบันและซื้อสินค้าใหม่ กลุ่มตัวอย่างมีความประทับใจ (ความพึงพอใจมากกว่าความคาดหวัง) ในทุกปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เปรียบเทียบระหว่างความพึงพอใจหลังซื้อสินค้าปัจจุบันกับความพึงพอใจหลังซื้อสินค้าใหม่พบว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่ายมีผลทำให้ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วัชระ ยี่สุ่นเทศ, คณะบริหารธุรกิจมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

อาจารย์คณะบริหารธุรกิจมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ชนิกานต์ พนมอุปถัมภ์, คณะบริหารธุรกิจมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

อาจารย์คณะบริหารธุรกิจมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2547). การจัดการและการบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เพชรรัตน์ มีสมบูรณ์พูนสุข. (2552, มกราคม-มิถุนายน). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการตลาดสําหรับผู้ประกอบการสตรีในชุมชน:กรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดย่อมผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าฝ้าย.วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1).

สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม. (2544). การพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านให้ได้เปรียบในเชิงแข่งขัน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2546). การบริหารการตลาด: กลยุทธ์และยุทธวิธี. กรุงเทพฯ: มติชน.

อารียา กองกาญจนาทิพย์. (2553). ทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการใช้ผ้าขาวม้าของผู้บริโภคในเขตอําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการตลาด.

Armstrong, G. and Kotler, P. (2003). Marketing: An introduction. 9th Edition. Upper Saddle River,NJ: Prentice Hall.

Christopher Lovelock and Lauren Wright. (2002). Principles of Service Marketing and Management. 2nd Edition. University of North Carolina Lauren Wright, California State University-Chico.

Etzel, M. J., Walker, B. J. and Stanton, W. J. (2007). Marketing. 14th Edition. Boston: McGraw – Hill.

Kotler, P. (2000). Marketing management: analysis, planning implementation and control.9th Edition. International.

Peter, P. J. and Donnelly, J. H. (2007). Marketing Management: Knowledge and Skills.8th Edition. NewYork: McGraw Hill.