การใช้การอภิปรายกลุ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูด และการเขียนภาษาอังกฤษ และลดความวิตกกังวลในการเรียน วิชาภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้การอภิปรายกลุ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดและการเขียนและลดความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการอภิปรายกลุ่ม 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยการอภิปรายกลุ่ม 3)เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนด้วยการอภิปรายกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นแผนการสอนที่ใช้ในการอภิปรายกลุ่ม และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล มี 3 ชนิด คือ แบบทดสอบความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ แบบทดสอบความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ ประชากรคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา ปีการศึกษา 2561 รวมจำนวน 27 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Dependent Sample T-test
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้การอภิปรายกลุ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดและการเขียนและลดความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการอภิปรายกลุ่ม 2) เปรียบเทียบความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยการอภิปรายกลุ่ม และ 3) เปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนด้วยการอภิปรายกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการสอนที่ใช้ในการอภิปรายกลุ่ม แบบทดสอบความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ มีค่าความยาก 0.43 ค่าอำนาจจำแนก 0.27 ค่าความเชื่อมั่น 0.88 แบบทดสอบความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ มีค่าความยาก 0.47 ค่าอำนาจจำแนก 0.33 ค่าความเชื่อมั่น 0.83 และแบบวัดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 27 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบียนมาตรฐานและค่า Dependent Sample t-test
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียน พบว่า ก่อนเรียนด้วยการอภิปรายกลุ่ม ผู้เรียนอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 33 (เฉลี่ย 11.1 คะแนน) และหลังเรียนผู้เรียนอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 92.6 (เฉลี่ย 16.9 คะแนน) ค่า t เป็น -14.060 2) ความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนพบว่า ก่อนเรียนด้วยการอภิปรายกลุ่มผู้เรียนอยู่ในระดับอ่อน ร้อยละ 100 (เฉลี่ย 8.3 คะแนน) และหลังเรียนผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.3 (เฉลี่ย 14.6 คะแนน) ค่า t เป็น – 19.441 และ 3) ความวิตกกังวลของผู้เรียนก่อนเรียนด้วยการอภิปรายกลุ่ม มีความกังวลอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 11.1 (เฉลี่ย 27.3 คะแนน) และหลังเรียนผู้เรียนอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 3.7 (เฉลี่ย 21.8 คะแนน) ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษลดลง 5.5 คะแนน ค่า t เป็น 3.151
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ชินณเพ็ญ รัตนวงศ์. (2547). ผลของการสอนโดยใช้งานปฏิบัติเป็นฐานในการเรียนรู้ ที่มีต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาหลักสูตรและการสอน.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
พูนรัตน์ แสงหนุ่ม. (2538). ผลของวิธีการเขียนแบบเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศในชั้นเรียนของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการสอนภาษาอังกฤษ.
รจนา ชัยมีเขียว. (2530). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความสนใจต่อวิธีการสอนพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยการอภิปรายกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมุติและการสอนตามคู่มือครู. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชามัธยมศึกษา.
สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2554, 13 กรกฎาคม). บันทึกอาเซียน ASEAN DIARY : การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาคกับอนาคตของไทยในอาเซียน. เดลินิวส์, น. 1.
Barry and Francis Joseph. (1985, February). Small Group Discussion as a Prewriting Activity: A Naturalistic Inquiry Dissertation. Abstracts International 45, 3(1), 60-66.
Cimcoz. (1999, 5 June). Teaching ESL/EFL Students to Write Better. The Internet TESL Journal, 5(10),50-56.
Clark, Leonard H. and Irving Starr. (1976). Secondary School Teaching Methods. 3rd ed. New York: Macmillan Publishing Co., Inc.
Halbert and Gulley E.. (1963). Discussion Conference and Group Process. New York: Holt Rinehartand Winston Inc.
Horwitz and Cope. (1986, July). Foreign language classroom anxiety. The Modern language Journal,70(2), 125-132.
Hynes and Sister Nancy. (1970, March). Learning to Read Short Stories. Journal of Reading, 4(8), 429-432.
Jacobs (1981). Testing ESL composition: a practical approach. 5th ed. Massachusetts: Newbury House Publishers, Inc.
Littlewood. (1984). Foreign and second language learning: Language acquisition research and its implications for the classroom. Cambridge: Cambridge University Press.
Oller, J. W. (1979). Language tests at school. London: Longman Group Limited.