ผลการฝึกเสริมความอ่อนตัวควบคู่กับการจินตภาพที่มีต่อความแม่นยำในการเสิร์ฟของนักกีฬาเซปักตะกร้อชายมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแม่นยำในการเสิร์ฟเซปักตะกร้อ ของนักกีฬาเซปักตะกร้อชายมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชายในตำแหน่งตัวเสิร์ฟ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกความอ่อนตัวและการฝึกจินตภาพ 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ทำการทดสอบความแม่นยำในการเสิร์ฟเซปักตะกร้อ ก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความอ่อนตัวและการฝึกจินตภาพ มีผลการทดสอบความแม่นยำในการเสิร์ฟเซปักตะกร้อ สูงกว่าก่อนการทดลอง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ปวเรศร์ พันธยุทธ์. (2556). วิชาตะกร้อ1. สุพรรณบุรี: สถาบันการพลศึกษา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ วิทยาเขตสุพรรณบุรี.
สุกัญญา พานิชเจริญนาม. (2546). คู่มือการเต้นแอโรบิกสำหรับครู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศักยภาพ บุญบาล. (2554). การฝึกทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศราวุฒิ โภคา. (2556). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกการทรงตัวความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิมา พกุลานนท์. (2558, กรกฎาคม). ผลการฝึกทักษะการเสิร์ฟตะกร้อควบคู่กับการฝึกจินตภาพพร้อมการฟังเพลงต่อความ แม่นยำของการเสิร์ฟในนักกีฬาเซปักตะกร้อมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 15(1).
Harris, D.V. and Harris B.L. (1984). The Athlete Guide to Sport Psycholopy : Mewntal Skill for physical People. New York: Leisure Press.