มาตรการป้องกันปัญหาอาชญากรรมอย่างมีส่วนร่วมของประชาชน ในจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันปัญหาอาชญากรรม และ 2) เพื่อศึกษามาตรการป้องกันปัญหาอาชญากรรมอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศหญิงร้อยละ 57.2 เพศชายร้อยละ 42.80 มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส โดยมีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีจำนวน 4 คน ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัย ทางสังคมของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ พบว่า ลักษณะของชุมชนอยู่ในย่านที่พักอาศัย อาศัยอยู่ในชุมชนมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านอาชญากรรม และรู้จักเป็นการส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ทั้งนี้เคยเข้าร่วมการอบรมป้องกันอาชญากรรม และหลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วนั้น พบว่าจะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจมากขึ้น ส่วนผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม พิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการ ด้านการสนับสนุน ด้านการประเมินผล ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาวิเคราะห์มาตรการป้องกันปัญหาอาชญากรรมอย่างมีส่วนร่วม สรุปเป็น 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการสิ่งแวดล้อม มาตรการการป้องกันอาชญากรรมโดยการมีส่วนร่วมประชาชน และมาตรการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ที่มีโอกาสจะกระทำความผิด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กรมการปกครอง. (2559). รายงานสถิติจำนวนประชากรจังหวัดพิษณุโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มีนาคม 2558)
ชยพัทธ์ วงศ์ธนวีร. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม กรณีศึกษา สถานีตำรวจนครบาลคลองตัน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ และคณะ. (2539). รายงานการฝึกอบรมทางวิชาการหลักสูตรยุทธศาสตร์การตำรวจชุมชนระดับสถานีตำรวจ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา. นครปฐม: โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
นฎกร คำประสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม : กรณีศึกษาตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (รายงานศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, วิทยาลัยรัฐกิจบัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม.
นเรศ คงโต สุชาติ แสงทอง และสุขสมาน สังโยคะ. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16(1), 130-137.
บุญชม ศรีสะอาด. (2533). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ประชา คงคารักษ์. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการป้องกันอาชญากรรมในเขตตำบลบ้านกลาง อำเภอสองสอง จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
ไพโรจน์ โกษา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมเชิงในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
วสันต์ ชัยลา. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนตามโครงการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, คณะรัฐประศาสนศาสตร์,สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
วิเชียร สิงห์ปรีชา. (2538). บทบาทของตำรวจในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2561). รายงานสถิติอาชญากรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtpoc.police.go.th/file2.php?f=5. (วันที่ค้นข้อมูล : 21 กุมภาพันธ์ 2561)
James, L. Creighton. (2005). Making Better Decisions through Citizen Involvement. The PublicParticipation Handbook. San Francisco: Jossey-Bass A Wiley Imprint.