การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

วิภาวรรณ เอกวรรณัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 588 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำแนกชั้นภูมิตามสาขาวิชา 6 สาขาวิชา จำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แสดงค่าดัชนี ไกเซอร์ – ไมเยอร์ – ออลคิน เท่ากับ .939 ได้องค์ประกอบที่เหมาะสมจำนวน 8 องค์ประกอบ 62 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การดำเนินการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 19 ตัวบ่งขี้ 2) ทัศนคติและคุณลักษณะนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 16 ตัวบ่งขี้ 3) การจัดการเรียนการสอน 8 ตัวบ่งขี้ 4) ความรู้และคุณลักษณะจริยธรรมความเป็นครู 6 ตัวบ่งขี้ 5) การสังเกตและพัฒนานักเรียน 7 ตัวบ่งชี้ 6) การแสวงหาคำตอบ 3 ตัวบ่งชี้ 7)ความซื่อสัตย์ในการอ้างอิงเอกสาร/งานวิจัย 2 ตัวบ่งชี้ และ 8) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ตัวบ่งชี้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิภาวรรณ เอกวรรณัง, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2560, มกราคม-มีนาคม). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนโครงการวิจัยทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 29(39), 39-46.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2561). คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. ม.ป.ท.

ชนาธิป ทุ้ยแป. (2555, ตุลาคม 2554-มีนาคม 2555). การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้การประเมินผลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญ.วิธีวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 9(2), 81-94.

มาตา แก้วเซ่ง. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้การคิดเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่ม จังหวัดภาคใต้ ฝั่งอันดามัน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการบริหารและการจัดการศึกษา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2551). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). ม.ป.ท.