การพัฒนาตำรับอาหารพื้นเมืองสู่สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาด้านอาหารและพัฒนาตำรับอาหารพื้นเมืองสู่สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการประกอบอาหารแต่ละหมู่บ้าน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารพื้นเมืองแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 50 คน มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หลังจากนั้นสนทนากลุ่มร่วมกับชุมชนเพื่อคัดเลือกประเภทตำรับอาหารพื้นเมืองแต่ละหมู่บ้านพัฒนาเป็นสำรับอาหารคาวและหวาน ผลการวิจัยพบว่า อาหารพื้นเมืองใช้วัตถุดิบท้องถิ่นตามฤดูกาลประกอบอาหาร มีวิธีการปรุงอาหารที่หลากหลายและถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านอาหารจากคนในครอบครัวผ่านความเชื่อและพิธีกรรม สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยวแต่ละหมู่บ้านประกอบด้วยสำรับอาหารคาว จำนวน 5 สำรับ สำรับอาหารหวาน จำนวน 5 สำรับ ตำรับอาหารแต่ละสำรับได้ผสมผสานความเชื่อและภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นทั้งในขั้นตอนการเลือกวัตถุดิบและวิธีการปรุงที่หลากหลาย วัตถุดิบหลักของตำรับอาหารคาว ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่และเนื้อปลา นอกจากนี้ยังประกอบด้วยน้ำพริกและผักพื้นบ้านตามฤดูกาลในทุกมื้อ ตำรับอาหารหวานวัตถุดิบหลัก ได้แก่ กล้วยน้ำว้า แป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวเจ้า
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กรมพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี.กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
เกศศิณี ตระกูลทิวากร. (2557). การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้ภาพลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา อรอนงค์ วูวงศ์ และเสริมศิลป์ สุภเมธีสกุล. (2560). อาหารพื้นบ้าน:กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ. (รายงานผลการวิจัย). แพร่: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร เอกอุรินทร์ ดวงทิพย์ ณิณารี อิติอินทร์ มนฑน์กาญจน์ ปิ่นภู่ และวิไลพร วงศ์คินี.(2560, กรกฏาคม-สิงหาคม). ตำรับอาหารพื้นบ้านพะเยา: การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณค่าทางโภชนาการ. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(4), 298-313.
ชลลดา ทวีคูณ และจิราณีย์ พันมูล. (2558). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในมิติอาหารเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษา ชุมชนไทยทรงดำ ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://www.thai-explore.net/search_detail/result/7199. (วันที่ค้นข้อมูล:15 พฤศจิกายน 2563).
ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร. (2559). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการ.
ณัฐพร ไข่มุกข์ และอรอุษา สุวรรณประเทศ. (2563, มกราคม-มีนาคม). จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยว:กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุขทัยและชุมชนบ้านวังวนอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 13(1), 109-127.
บัณฑิตา ทับทิมเพชรางกูล ธีรวุฒิ ภูมิชูชิด พัฒน์ธนรัฐ อัครแก้วเพชร จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง และวิรัชยาอินทะกันฑ์. (2562, 8 พฤศจิกายน). การศึกษาตำรับอาหารพื้นบ้านชาวไทยวนกรณีศึกษา : หมู่บ้านสมอแข ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: การประชุมสวนสุนันทาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 103-116.
พรรณี สวนเพลง. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.
ไพโรจน์ ชลารักษ์. (2548, กรกฏาคม-ธันวาคม). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารราชภักตะวันตก, 1(1), 20-21.
ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษร. (2555, กรกฏาคม-สิงหาคม). ทฤษฎีแรงจูงใจการท่องเที่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร.วาสารวิทยาการจัดการ, 29(2), 129-148.
วรารัตน์ สานนท์ และกมลพร สวนทอง. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจากอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวเรียนรู้ อาหารเชิงสุขภาพของภูมิภาคตะวันตกกรณีศึกษาชุมชนหนองโรง ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมนุษยศสาตร์วิชาการ, 27(1), 237-273.
วรรณดี สุทธินรากร. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการทางสำนึก. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
วรรณิสา สุดวังยาง สุกัญญา ไทรนนทรีย์ อารีย์ โฉมวานิช กีรติญา สอนเนย และวิรัชยา อินทะกันฑ์.(2562, 8 พฤศจิกายน). การศึกษาตำรับอาหารพื้นบ้านชาวไททรงดำ กรณีศึกษา ตําบลบ่อทองอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: การประชุมสวนสุนันทาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.
วิรัชยา อินทะกันฑ์ จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง และอภิรดี ศรีประภา. (2561, 23 มีนาคม). การศึกษาตำรับอาหารพื้นบ้านชาวไททรงดำ กรณีศึกษา: หมู่บ้านแหลมมะค่า ตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: การประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ.2561. พิษณุโลก.
ศรีสมร คงพันธุ์. (2560). อาหารไทยธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท สแกนแอนด์พริ้น จำกัด.
สุนี ศักดาเดช. (2549). อาหารท้องถิ่น. จันทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก. (2562). สรุปผลการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
อาภาวดี ทับสิรักษ์. (2555). การพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวญัฮกุร อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการจัดการการท่องเที่ยว.