ประสิทธิภาพบทบาทภาวะผู้นำท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของผู้นำท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล ในพื้นที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้นำท้องถิ่นเกี่ยวกับประสิทธิภาพบทบาทภาวะผู้นำท้องถิ่นในยุค Thailand 4.0 อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้นำท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง และเทศบาลตำบล 1 แห่ง ที่ดูแล 72 หมู่บ้านในพื้นที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 144 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกเทศบาลตำบล อย่างน้อยจำนวน 1 คน จากแต่ละหมู่บ้าน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 3 จากประชากรทั้งหมด จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 100 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 59 อายุที่พบมากที่สุดอยู่ในช่วงระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.00 มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.00 มีอาชีพนักการเมืองท้องถิ่นมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 65.00 มีรายได้ในช่วง 10,001-15,000 บาท มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 64.00 และเป็นผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.00 ขณะที่ประสิทธิภาพบทบาทภาวะผู้นำท้องถิ่นในยุค Thailand 4.0 อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.53, S.D. = .17) ผู้นำท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0 นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ภาวะผู้นำในการบริหารให้เหมาะสมกับลักษณะขององค์กร และปัญหาที่เกิดขึ้นในเขตท้องถิ่น ประยุกต์หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance) ในการสร้างค่านิยมให้กับผู้นำ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ชัยธวัช เนียมศิริ. (2561). ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0 กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60). วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
ดริญญา โตตระกูล. (2546). การเมืองของการเสนอภาพตัวแทนในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของชุมชนม้ง: กรณีศึกษาบ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์, สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม.
เต็งเม็ง อย่างลือชัย. (2550). บทบาทหญิงชายในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชนเผ่าม้งจากมุมมองของผู้ชายม้ง: กรณีศึกษาหมู่บ้านวังเฮือ เมืองทุลคม แขวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์, สาขาวิชาสตรีศึกษา.
ทวีสันต์ วิชัยวงษ์ และยุภาพร ยุภาศ. (2562). ภาวะผู้นำยุคใหม่และทักษะในการบริหารงานในองค์กร. วารสารแสงอีสาน, 16(2), 667-680.
นฤมล จิตรเอื้อ, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1738-1754.
พรชัย เจดามาน. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.emld-rmu.com/index.php/article1/9-articles/142-21-4-0. (วันที่ค้นข้อมูล: 17 กรกฏาคม 2562).
พระครูโกศลธรรมานุสิฐ และเอกมงคล เพ็ชรวงษ์. (2562). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(1), 77-88.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545. (2545, 2 ตุลาคม), ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 (ตอนที่ 99 ก), 1-13.
พสุ เดชะรินทร์. (2560). ผู้นำในยุค 4.0. กรุงเทพธุรกิจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641042. (วันที่ค้นข้อมูล: 17 กรกฏาคม 2562).
พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์, สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2558). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 3(2), 146-161.
พิศุทธิ์ บัวเปรม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานราชการของฝ่ายกองช่างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์(รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
มนูญ ทยานานุภัทร์. (2553). การเปลี่ยนแปลงองค์กร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: peoplevalue.co.th/346/. (วันที่ค้นข้อมูล: 17 กรกฎาคม 2562).
มยุรี วรรณสกุลเจริญ และอุทัย เลาหวิเชียร. (2562). ภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรีและประสิทธิผลของเทศบาลเมืองในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(30), 57-70.
ว.วชิรเมธี. (2549). ธรรมะสบายใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์.
วรินทริพย์ กำลังแพทญ์. (2561). การศึกษารูปแบบภาวะผู้นำท้องถิ่นที่มีประสิทธิผลตามทรรศนะของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 7(1), 204-226.
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). รูปแบบการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยทางการบริหารจัดการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 33-42.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2549). คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://suthep.crru.ac.th/. (วันที่ค้นข้อมูล: 17 กรกฏาคม 2562).
สุพัตรา วัชรเกตุ. (2554). ผู้นำ: ในยุคการเปลี่ยนแปลง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 44-49.
สุภัทธนีย์ ขุนสิงห์สกุล. (2562). การจัดการจัดภาครัฐแนวใหม่เพื่อส่งเสิรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์(รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2562). สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกมงคล เพ็ชรวงษ์, พระมหานพรักษ์ ขันติโสภโณ, พระครูโสภณวีรานุวัตร และพระครูสุวรรณจันทนิวิฐ. (2561). ภาวะผู้นำการจัดการเชิงพุทธที่มีต่อสังคมในยุคไทยแลนด์ 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 926-937.
Robbins, S.P. (1994). Essentials of Organizational Behavior. 4th ed.. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Stogdill, R.M. (1974). Handbook of Leadership: A Survey of Theory and Research. New York: The Free Press.
Yukl, G.A. (1989). Leadership in Organizations. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.