แนวทางอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้าน "รำโทน" บ้านป่าแดง ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

กมล บุญเขต
กุลิสรา ปองเพียร

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของการละเล่นพื้นบ้าน “รำโทน” บ้านป่าแดง และเพื่อหาแนวทางอนุรักษ์โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา เก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก      ผลการวิจัยพบว่า การละเล่นพื้นบ้าน “รำโทน” บ้านป่าแดง ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการดำรงชีพโดยมีนโยบายภาครัฐเป็นตัวกำหนดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านห้วงเวลา 3 ยุคสมัย คือ “รำโทน” ในยุคก่อตั้งชุมชน ยังคงสำคัญต่อวิถีชีวิตในเรื่องของการบูชาและเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน เมื่อเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลงภายใต้การบริหารประเทศโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม วัฒนธรรมพื้นบ้านดั้งเดิมถูกมองว่าโบราณคร่ำครึ จึงเกิดนโยบายสร้างชาติถึงขั้นปฏิวัติวัฒนธรรม “รำโทน” จึงถูกปรับให้เป็น “รำวงมาตรฐาน” เพื่อความเป็นสากล และยุคปัจจุบันที่มีสื่อเทคโนโลยีเข้ามากระทบหมู่บ้านเกิดการแลกเปลี่ยนทัศนคติจากสังคมภายนอกอย่างรวดเร็วทำให้ “รำโทน” ในยุคนี้ขาดการสืบทอดไปจากหมู่บ้านป่าแดง เหลือเพียงผู้อาวุโสไม่กี่ท่านที่ยังคงอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านนี้ไว้ แต่ส่วนใหญ่ล้วนถูกเก็บด้วยความทรงจำถูกถ่ายทอดด้วยคำบอกกล่าวเล่าเรื่อง เพื่อเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาพื้นบ้าน “รำโทน” ที่ถูกขึ้นรายการให้เป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ แนวทางการอนุรักษ์โดยอาศัยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายภาครัฐ จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการทำหน้าที่รักษารากเหง้าวัฒนธรรมสู่การสร้างสรรค์สังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2562). วิวัฒนาการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.silpa-mag.com/culture/article_11660. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 กุมภาพันธ์ 2562).

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). วัฒนธรรม คุณค่าสู่มูลค่า. กรุงเทพ: กระทรวงวัฒนธรรม.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองสถิติและวิจัยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ณัฐพงศ์ ทิมโพธิ์. (2554). ความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติตามหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านโพธิ์จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น.

นายร้อยป่าแดง. (2537). โรงเรียนนายร้อยป่าแดง. ประธานคณะกรรมการเตรียมทหารบกรุ่นที่ 7.

นุชนาฏ ดีเจริญ, อิงอร จุลทรัพย์, วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน, รัชดาพร สุคโต, ภูริตา เรืองจิรยศ และอุบลวรรณ โตอวยพร. (2561, มกราคม-มิถุนายน). มรดกวัฒนธรรม “รำโทน”. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 9(1), 278-296.

นวลรวี จันทร์ลุน. (2548). พัฒนาการและนาฏยลักษณ์ของรำโทน จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขานาฏยศิลป์ไทย.

ปรัศนีย์ เกศะบุตร. (2554, มกราคม-มิถุนายน). การรณรงค์เรื่องการกินและการประกอบอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวกับนโยบายสร้างชาติของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามใน พ.ศ. 2485-2487. BU Academic Review, 10(1), 136-149.

พัน หมวกเทศน์. (2562, 1 กุมภาพันธ์). อายุ 88 ปี บ้านเลขที่ 17 หมู่ที่ 12 บ้านป่าแดง ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์.

ฟื้น เกตุแฟง. (2561, 26 เมษายน). อายุ 86 ปี บ้านเลขที่ 36 หมู่ที่ 3 บ้านป่าแดง ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์.

มนูญ อินเหลือง. (2561, 26 เมษายน). อายุ 52 ปี บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 15 บ้านป่าแดง ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์.

วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2554, ตุลาคม-มีนาคม). ภาษาถิ่นอำเภอหล่มสัก. ศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ, 1(1), 84-94.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2543). สังคม – วัฒนธรรม ในวิถีการอนุรักษ. กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2537). รำโทน ศิลปะพื้นบ้าน. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2552). ข้อมูลสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรม (กลุ่มอำเภอที่ 1). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์.

อเนก นาวิกมูล. (2522). เพลงนอกศตวรรษ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.