การส่งเสริมการใช้แปลนชีวิต เส้นทางสู่การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษา : โรงเรียนบ้านวังบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2

Main Article Content

รวงทอง ถาพันธุ์
พิชญ์อนงค์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์
ทินกร พูลพุฒ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แปลนชีวิต  2) ศึกษาพฤติกรรมการพัฒนาตนเองโดยใช้แปลนชีวิต และ3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้แปลนชีวิต กลุ่มทดลองได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 27 คน และครูผู้สอน จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 5 ขั้น คือ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 2) กำหนดจุดประสงค์ในการปฏิบัติงาน 3) กำหนดวิธีปฏิบัติ 4) ลงมือปฏิบัติงาน 5) ประเมินผลการปฏิบัติงาน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แปลนชีวิต เส้นทางสู่การพัฒนาทักษะชีวิต ภาคเรียนที่ 1 และ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินทักษะความสามารถในการจัดกิจกรรมของครูผู้สอน และแบบประเมินความพึงพอใจซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และ 0.89 ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แปลนชีวิต พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แปลนชีวิต อยู่ในระดับมาก

  2. ผลการศึกษาพฤติกรรมการพัฒนาตนเองในการใช้แปลนชีวิต ของนักเรียนพบว่า นักเรียนทุกคนสามารถสะท้อนประโยชน์ของการใช้แปลนชีวิต ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การบันทึกกิจกรรมในแต่ละวัน การสำรวจคุณค่าของตนเอง การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีวินัยในตนเอง มีความรู้และจดจำ บันทึกความทรงจำ รู้จักจัดลำดับขั้นตอนในการวางแผนชีวิต และรู้จักหน้าที่ของตนเอง

  3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ภาคเรียนที่ 1 ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 53.70 และในภาคเรียนที่ 2 มีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 61.95

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). คู่มือการสอนทักษะชีวิตด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต. (ม.ป.ป.). แปลนชีวิต STUDENT PLANNER เส้นทางสู่การพัฒนาทักษะชีวิตภาคต้น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต.

มูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต. (ม.ป.ป.). แปลนชีวิต STUDENT PLANNER เส้นทางสู่การพัฒนาทักษะชีวิตภาคปลาย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทยปี2557/2558จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด

องค์กรไร้ท์ทูเพลย์. (2553). คู่มือทักษะชีวิต เครื่องมือช่วยเหลือและสนับสนุนครู. เอกสารประกอบการฝึกอบรม (ม.ป.ท.).

อนงค์ รอดแสน. (2552). รายงานวิจัยการพัฒนาและผลการใช้คู่มือกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต (Life Skills) เพื่อพัฒนาผู้เรียน ช่วงชั้นที่ 3 และ 4. เพชรบูรณ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2.

Black Well John. (2003). Use of Great Book in The Development of Assertiveness. [Online]. Available from: http//web2 opnet.com/citation. (accessed: 1 December 2003).

Trudy, Linda. (2003). The Role of Assertiveness and Desistion Making in early Adolescents Substance Initiation Mediating Process. [Online]. Available from: http//searchepnet.com//direct. (accessed: 12 September 2003).