ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 230 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคคลากร ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ด้านการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ปัจจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ด้านปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ด้านภาพลักษณ์ วิทยาเขตกรุงเทพแตกต่างจากวิทยาเขตมหาสารคาม และวิทยาเขตเพชรบูรณ์ ด้านอาจารย์ผู้สอน วิทยาเขตชัยภูมิแตกต่างจากวิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตมหาสารคาม และวิทยเขตเพชรบูรณ์ ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน วิทยาเขตกรุงเทพ แตกต่างจากวิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตตรัง วิทยาเขตมหาสารคาม วิทยาเขตยะลา และวิทยาเขตอุดรธานี ด้านภาพลักษณ์พบว่า วิทยาเขตกรุงเทพแตกต่างจากวิทยาเชียงใหม่ วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตยะลา นอกจากนี้ วิทยาเขตเชียงใหม่ แตกต่างจากวิทยาเขตเพชรบูรณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ อายุ หลักสูตร สถานที่พักอาศัย ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครองและรายได้ต่อเดือนของครอบครัว พบว่าไม่แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก โดยมีค่าความสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.75-0.86 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กัญญา ศิริสกุล, ขนบพันธุ์ เอี่ยมโอภาส, สายพิณ ศมาวรรตกุล และเจริญศักดิ์ อึ้งเจริญวัฒนา. (2552). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เกษม เมษินทรีย์. (2559). ยุทธศาสตร์และการปฏิรูปสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์.
ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ, ทัศนีย์วรรณ์ ศรีประดิษฐ์ และปิยพร นุรารัตน์. (2559). ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ : การศึกษาระบบ 4.0. กรุงเทพฯ: ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนวรรณ รักอู่. (2557). การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2546). เอกสารคำสอนระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://person.mwit.ac.th/. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 กุมภาพันธ์ 2564.
ลิต้า ลิมาน, ปัทมา ปอเนาะ และอัสมา เจะเว. (2555). ปัจจัยการเลือกเข้าศึกษาต่อคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2551). องค์การและการจัดการ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วิมลพรรณ อาภาเวท, สาวิตรี ชีวะสาธน์ และชาญ เดชอัศวนง. (2554). พฤติกรรมการสื่อสารในเฟซบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สุริยา ประดิษฐ์สถาพร และประชัน วัลลิโก. (2558, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารการกีฬาในประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์, 33(1), 97-118.
อรอุมา ไชยเศรษฐ. (2551). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยพายัพในทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์. (2556, กรกฎาคม-ธันวาคม). การประเมินผลทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 148-173.
อัมพา แก้วจงประสิทธิ์. (2551). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอนก ณะชัยวงค์. (2555). การศึกษาความคิดเห็นต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษาภาคปกติในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ttp://www.academic.cmru.ac.th/data_research/paper/resin/Abstract.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 5 เมษายน 2563).