ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และแนวคิดระบบพี่เลี้ยง ที่มีต่อเจตคติในการเรียนวิชาการสอนฟุตบอลของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา

Main Article Content

วิธวรรธน์ สีชื่น

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และแนวคิดระบบพี่เลี้ยง ที่มีต่อเจตคติในการเรียนวิชาการสอนฟุตบอลของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 3 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กำหนดให้กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาการสอนฟุตบอลตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และแนวคิดระบบพี่เลี้ยง และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ โดยทำทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดเจตคติในการเรียนวิชาการสอนฟุตบอล ทำการวัดก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติในการเรียนวิชาการสอนฟุตบอล เท่ากับ 4.21 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติในการเรียนวิชาการสอนฟุตบอล สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กลมรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2528). จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประโยค สุทธิสง่า. (2539). คู่มือการสอนฟุตบอล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

เปรมฤทัย ขนันไทย. (2548). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อเจตคติการมีเพศสมพันธ์ในวัยเรียน ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนปทุมพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี. (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.จิตวิทยาการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา. ถ่ายเอกสาร.

ภัทรพงศ์ รัตนกาญจน์. (2560, มกราคม-มิถุนายน). ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารทางอิเล็กโทรนิค คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 15(1).

ยอดหทัย เทพธรานนท์ และประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์. (2548). Mentor-mentee-mentoring: ศาสตร์และศิลป์ของการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยงที่ดี. ปทุมธานี: มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2527). หลักและวิธีสอนพลศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิธวรรธน์ สีชื่น. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาโครงงานวิจัยเป็นฐานและระบบพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา. (รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

ศรันย์ รื่นณรงค์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา.

สยามรัฐ. (2560). ศาสตร์พระราชา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://siamrath.co.th/n/10248. (วันที่ค้นข้อมูล: 25 กันยายน 2560).

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2562). รายงานผลการประเมินคุณภาพการสอน (ออนไลน์) ของอาจารย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 (ภาคปกติ). (รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม. (2520). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แพร่วิทยา.

ห้องสมุดมั่นพัฒนา. (2560). หลักการทรงงานเรื่องแรงระเบิดจากข้างใน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manpattanalibrary.com/. (วันที่ค้นข้อมูล: 25 กันยายน 2560).