โครงการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดสรรงบประมาณตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

Main Article Content

บุญส่ง กวยเงิน

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดสรรงบประมาณตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล  2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของประชากรและผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่เป้าหมาย  3) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณที่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แหล่งข้อมูลในการประเมิน ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูล คือ ประชาชน/ผู้ที่มีส่วนได้เสียในพื้นที่ จำนวน 15,598 ราย ที่ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2,870 ราย  พื้นที่เป้าหมาย คือ เป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะประเมิน จำนวน 38 จังหวัด 190 ตำบล (5 ตำบล/จังหวัด)


            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ  1) แบบสอบถามสำหรับประชาชน/ผู้ที่มีส่วนได้เสียในพื้นที่และแบบสอบถามสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการ  2) แบบสัมภาษณ์สำหรับประชาชน/ผู้ที่มีส่วนได้เสียในพื้นที่และแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้รับผิดชอบโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามกับประชาชน/ผู้ที่มีส่วนได้เสีย และผู้รับผิดชอบโครงการ รวมทั้งสัมภาษณ์กับประชาชน/ผู้ที่มีส่วนได้เสีย และผู้รับผิดชอบโครงการการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการประเมิน พบว่า


            1) ประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดสรรงบประมาณตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล พบว่า ประสิทธิภาพของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของโครงการด้านการใช้ทรัพยากรและแรงงานของประชาชนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และส่วนผู้รับผิดชอบโครงการมีความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความต่อเนื่องการขยายผลและความยั่งยืนในการดำเนินงานของประชาชน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้รับผิดชอบโครงการมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการของประชาชนโดยรวมระดับของรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ในระดับปานกลาง และสัดส่วนค่าแรงงานต่องบประมาณที่ได้รับส่วนผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า สัดส่วนค่าแรงงานต่องบประมาณที่ได้รับทั้งสิ้นร้อยละ 43 (2) ประเมินความพึงพอใจของประชากรและผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่เป้าหมาย พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และผู้รับผิดชอบโครงการ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรส่วนของประชาชน พบว่า เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัว ยกเว้น เพศ ไม่มีความสัมพันธ์และส่วนผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า เพศ อายุ ตำแหน่ง การศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัว ยกเว้น เพศ ไม่มีความสัมพันธ์และ 3) พัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณที่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดการแนะนำและข้อมูลที่เพียงพอจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประโยชน์ที่ได้รับ รวมทั้งความคุ้มค่าของการดำเนินในบางโครงการ สำหรับข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นโครงการที่สร้างรายได้และสร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย. (2559). รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผน กระทรวงมหาดไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพศาล วรคำ. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

วรัท พฤกษากุลนันท์. (2550). ประสิทธิภาพและประสิทธิผล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://peenet.blogspot.com/2008/07/ efficiency-effectivenessadministrator.html.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมคิด พรมจุ้ย. (2550). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: จตุพรดีไซน์.

สำนักนโยบายและแผน กระทรวงมหาดไทย. (2558). ถอดบทเรียนการดําเนินการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตําบล (ตําบลละ 5 ล้านบาท). สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย.