สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำเเพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำเเพงเพชร ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 โปรแกรมพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำเเพงเพชร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำเเพงเพชร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.26, = 1.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านการวัดและประเมินผลพลศึกษา อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.53, = 1.52) รองลงมาด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางพลศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.30, = 1.27) ด้านอาจารย์ผู้สอนพลศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, = 1.66) และด้านหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนพลศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, = 1.13)
ผลการศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำเเพงเพชร โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย ( = 2.38, = 1.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางพลศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.66, = 1.54) รองลงมา ด้านหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนพลศึกษา อยู่ในระดับน้อย ( = 2.42, = 1.42) ด้านการวัดและประเมินผลพลศึกษาอยู่ในระดับน้อย ( = 2.28, = 1.49) และด้านครูผู้สอนพลศึกษาอยู่ในระดับน้อย ( = 2.15, = 1.28)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท สยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
จรวย แก่นวงษ์คำ. (2529). วิธีสอนวิชาเอกพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จรวยพร ธรณินทร์. (2525). หลักการสอนพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ชโยทิต ศิริโชติ, แอน มหาคีตะ และวัฒนา สุทธิพันธ์. (2562, มกราคม-เมษายน). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาโรงเรียนสาธิตในสังกัดของรัฐตามความคิดเห็นของครูและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการ สถาบันพลศึกษา, 11(1), 259-273.
บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ, ติยาพร ธรรมสนิท และปภินวิชตฎ์ โพธิ์กาศ. (2561, มกราคม-เมษายน). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีปีการศึกษา 2558. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 49-57.
ปริญญา นาชัยสิทธิ์. (2546). สภาพและปัญหาการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2546. (ปริญญานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาพลศึกษา.
พุทธรัตน์ พุทธจำ และสุธนะ ติงศภัทิย์. (2558). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 10(2), 382-396.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2527). หลักและวิธีการสอนพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2539). การสอนพลศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมยศ แซ่โต๋ว. (2556). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ในเครือโรงเรียนราชวินิต ปีการศึกษา 2555. (ปริญญานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาพลศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551–2565). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ 21 เซนจูรี.