อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีต่อความตั้งใจใช้งานระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ทำบัญชีในประเทศไทย

Main Article Content

Sukritta Burinwattana

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการการยอมรับเทคโนโลยีและความตั้งใจใช้ของของระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ทำบัญชีในประเทศไทย และศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีต่อความตั้งใจใช้งานระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ทำบัญชีในประเทศไทย ได้แก่ นักบัญชีถูกจำแนกตามภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ ด้วยวิธี Enter


            ผลการวิจัยพบว่า  นักบัญชีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 30 – 40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานด้านบัญชีน้อยกว่า 10 ปี โดยมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยี นักบัญชีมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่  1) ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง 2) ด้านความกดดันในการแข่งขันจากภาคอุตสาหกรรม 3) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ  4) ด้านความพร้อมเงินทุนขององค์กร 5) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ และ6) ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน เป็นลำดับสุดท้าย ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความตั้งใจใช้งาน นักบัญชีมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ การรับรู้ความพร้อมเงินทุนองค์กร และการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงต่อความตั้งใจใช้งานระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ทำบัญชีในประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า องค์กรควรทำความเข้าใจให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นี้เพื่อทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ องค์กรต้องตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นจากระบบนี้ การเตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการทำงาน และระบบสารสนเทศขององค์กรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต้องทำการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายและโครงการอย่างต่อเนื่องและคลอบคลุมในทุกพื้นที่ เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของประชาชนและองค์การต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ข้อมูลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ประจำเดือนกรกฎาคม 2562. เข้าถึงได้จาก: https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=433. (วันที่ค้นข้อมูล: 16 กันยายน 2563).

ชาญชัย อรรคผาติ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในการยอมรับในเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อประยุกต์ใช้ในการให้บริการระบบบัญชีออนไลน์ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมุมมองของผู้ทำบัญชี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณะการบัญชี, สาขาวิชาการบัญชี.

ธรรมนิติการบัญชีและภาษีอากร. (2559). นักบัญชีกับประเทศไทย 4.0. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dha.co.th/th/news.com. (วันที่ค้นข้อมูล: 20 กุมภาพันธ์ 2563).

นันทวรรณ บุญช่วย. (2563). ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 15-26.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสําหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สุกัญญา ฮิวส์ และภูษิต วงศ์หล่อสายชล. (2560). การศึกษาความพร้อมของนักบัญชีต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. I-Journal of Research, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Abualrob, A. A., & Kang, J. (2016). The barriers that hinder the adoption of e-commerce by small businesses: Unique hindrance in Palestine. Information Development, 32(5), 1528-1544.

Al-Mashari, M., Al-Mudimigh, A., & Zairi, M. (2003). Enterprise resource planning: A taxonomy of critical factors. European journal of operational research, 146(2), 352-364.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Dishaw, M. T., Eierman, M. A., Iversen, J. H., & Philip, G. (2013). An examination of the characteristics impacting collaborative tool efficacy: The uncanny valley of collaborative tools. Journal of Information Technology Education: Research, 12, 301-325

Ghobakhloo, M., Arias-Aranda, D., & Benitez-Amado, J. (2011). Adoption of e-commerce applications in SMEs. Industrial Management & Data Systems, 111(8), 1238-1269.

Horst, M., Kuttschreuter, M., & Gutteling, J. M. (2007). Perceived usefulness, personal experiences, risk perception and trust as determinants of adoption of e-government services in The Netherlands. Computers in human behavior, 23(4), 1838-1852.

Hsu, P. F., Ray, S., & Li-Hsieh, Y. Y. (2014). Examining cloud computing adoption intention, pricing mechanism, and deployment model. International Journal of Information. Management, 34(4), 474-488.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.

Lin, H. F. (2014). Understanding the determinants of electronic supply chain management system adoption: Using the technology–organization–environment framework. Technological Forecasting and Social Change, 86, 80-92.

Osakwe, C. N., Chovancová, M., & Agu, M. (2016). Can micro-enterprises leverage on the adoption of corporate websites to bolster their brand visibility? Examining salient adoption issues in Nigeria. Information Development, 32(4), 904-919.

Pan, M. J., & Jang, W. Y. (2008). Determinants of the adoption of enterprise resource planning with in the technology-organization-environment framework: Taiwan's communications industry. Journal of Computer information systems, 48(3), 94-102.

Qu, W. G., Yang, Z., & Wang, Z. (2011). Multi-level framework of open source software adoption. Journal of Business Research, 64(9), 997-1003.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.