การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพอลิเมอร์

Main Article Content

ณัฐรดา ธรรมเวช

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องพอลิเมอร์  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พอลิเมอร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนออนไลน์  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พอลิเมอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา MTA102 คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ สำหรับมัลติมีเดีย และแอนิเมชัน 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนออนไลน์ บทเรียนออนไลน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องพอลิเมอร์ E1/E2 เท่ากับ 82.33/81.00  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พอลิเมอร์ หลังการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนออนไลน์ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พอลิเมอร์ อยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.27, S.D. = 0.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์ และจิณดิษฐ์ ลออปักษิณ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับ การเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(3), 346-362.

จุรีรัตน์ ถมทอง. (2557). ห้องเรียนกลับด้าน (The Flipped Classroom). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://prezi.com/ss0en8qt_bsy/the-flipped-classroom/. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 ตุลาคม 2563)

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 171-181.

ฐานิตา ลิ่มวงศ์ และยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2562). ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่21. Mahidol R2R e-Journal, 6(2), 9-17.

ธัญญธร ผิวผ่อง, กฤช สินธนะกุล และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อการบูรณาการกับกิจกรรมห้องเรียนกลับ ด้านรายวิชาวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.). ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, วิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน สหวิทยาการ สู่ไทยแลนด์ 4.0: การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรี ครั้งที่ 7 (น. 372-380). เพชรบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจพร สุคนธร และสมพงษ์ จิตระดับ. (2563). แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตํ่า. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 13-25.

ประภารัตน์ หล้ากาศ. (2559). การสร้างชุดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางเรื่อง มัลติมีเดียเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(1), 147-160.

พรรณวิภา รัชตธนกุล. (2558). การพัฒนาชุดการสอนสื่อประสม เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWLH Plus โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร Veridian E-journal Silpakon University, 8(1), 319-332.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สยามกัมมาจล.

ศรินยา วงษ์ช่างหล่อ, อภิรักษ์ อนะมาน และสุวรรณี ยหะกร. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความรับผิดชอบในการเรียนหลักการใช้ภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร. ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8 (น. 1532-1541). นนทบุรี.

สุมาลี สิกเสน. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 239-252.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียนมิติ ใหม่ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mbuisc. ac.th/phd/academic/flipped%20classro om2.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 3 ตุลาคม 2563).

Bellanca, J. and Brandt, R. (2010). 21st century skills: Rethinking how students learn. IN: Solutio Tree Press.

Bergman, J. and Sams, A. (2014). Flipped Learning : Gateway to Student Engagement. Washing-ton: International Society for Technology in Education.

Best, J. W. (1981). Research in education. 4th New Jersey: Prentice Hall.