การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกันแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ปีงบประมาณ 2559 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก และจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

บุญส่ง กวยเงิน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดของการเคหะแห่งชาติ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)  2) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ และไม่สำเร็จที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการของการดำเนินงานโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด  3) ศึกษาทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการกิจกรรมของโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดของพื้นที่เป้าหมายที่สามารถตอบสนองสถานการณ์ที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และ 4) การกำหนดบทบาทของการเคหะแห่งชาติ และภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาชนและภาคเอกชนในการร่วมขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชน และเมืองในพื้นที่เป้าหมาย
            กลุ่มตัวอย่าง/ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
            1.  กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในกระบวนการของโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ได้แก่ 1) ผู้บริหาร คณะกรรมการตรวจการจ้าง คณะทำงานและผู้ปฏิบัติงานของการเคหะแห่งชาติ จำนวน 51 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง 2) ผู้ดำเนินงานโครงการสถาบันการศึกษา หรือองค์กร หน่วยงานที่ดำเนินงานโครงการ จำนวน 13 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง และ3) บุคคลที่เคยเข้าร่วมในกระบวนการ และกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ จำนวน 21 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง
             2.  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ 1) คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยจังหวัด คณะทำงานโครงการ จำนวน 34 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง  2) ผู้แทนหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 28 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง  3) ผู้แทนภาคประชาชน เครือข่ายชุมชน องค์กรชุมชน จำนวน 28 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงและ 4) ผู้แทนภาคเอกชน จำนวน 564 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น
            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96  แบบสัมภาษณ์จำนวน 1 ฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และประเด็นสนทนากลุ่มมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98  และการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่ นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา อาศัยตรรกะวิเคราะห์และเชิงเปรียบเทียบในรูปแบบตารางและรูปภาพประกอบ ขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา อาศัยตรรกะวิเคราะห์และเชิงเปรียบเทียบในรูปแบบตารางและรูปภาพประกอบ และขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 ถึง ขั้นตอนที่ 3 ข้อค้นพบมาสังเคราะห์เพื่อนำไปสู่การสร้างข้อสรุปกำหนดบทบาทของการเคหะแห่งชาติ และภาคีที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาที่อยู่อาศัย
            ผลการวิจัย พบว่า 1) การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดของการเคหะแห่งชาติในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก และจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ 1.1) การจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ มีแนวทางการดำเนินงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการตามที่กำหนด  1.2) กระบวนการและกิจกรรมในการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดทั้งกระบวนการมีส่วนร่วม การเสริมสร้างศักยภาพด้านที่อยู่อาศัยด้านการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย การจัดทำโครงการนำร่องที่ชัดเจนที่นำไปสู่เสริมสร้างศักยภาพด้านที่อยู่อาศัยและมีกิจกรรมนำร่องที่เห็นผลเป็นรูปธรรม  1.3) ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ  1.4) การบูรณาการแผนงาน/โครงการเข้ากับนโยบายยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการพัฒนาพื้นที่ทั้งในระดับกลุ่มจังหวัด จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  1.5) ศักยภาพด้านการจัดทำแผนที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดของภาคีที่เกี่ยวข้องที่ได้เข้าร่วมในกระบวนการ และในกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพด้านโครงการเกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกระบวนการต่าง ๆ จนกระทั้งมีศักยภาพด้านการจัดทำแผนที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดโดยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น  2) ผลการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ และไม่สำเร็จที่เกิดขึ้น พบว่า มีปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำแผน สำหรับปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ คือ ความร่วมมือของหน่วยงานที่มีบทบาทในการปฏิบัติตามแผนในระดับพื้นที่การเรียนรู้และเข้าใจถึงการพัฒนาเมือง การบูรณาการทำงานร่วมกันที่จะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ส่วนปัจจัยที่ไม่สำเร็จ คือ ความเข้าใจในแนวคิดของแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับเมือง ซึ่งเป็นเรื่องของการออกแบบและจัดการเมืองในเชิงบูรณาการและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนา และการเชื่อมโยงแผนสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับต่าง ๆ  3) การศึกษาทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการกิจกรรมของโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด พบว่า มีการทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการกิจกรรมของโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดของพื้นที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ นโยบาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม และ 4) การกำหนดบทบาทของการเคหะแห่งชาติ และภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน พบว่า บทบาทในการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับเมือง คือ เชื่อมโยงความร่วมมือ สร้างความตระหนัก หนุนเสริมขีดความสามารถพัฒนาภาคีและผู้เกี่ยวข้องให้มีศักยภาพ สมรรถนะในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับเมือง สนับสนุนทางวิชาการ และประสานข้าถึงแหล่งทุน ส่วนบทบาทในการป้องกันแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด คือ เป็นพี่เลี้ยงให้คำชี้แนะระดมการมีส่วนร่วม สร้างความเข้มแข็ง ผลักดันให้เกิดการริเริ่ม และสนับสนุนทุนในการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2550). แบ่งปันร่วมกันสร้างเมืองน่าอยู่: 12-13 มีนาคม 2550 โครงการอบรมเทศบาลให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน. [ม.ป.ท.]: ณ โรงแรมสตาร์ระยอง.

สำนักงานมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). รายงานสถานการณ์ผู้มีรายได้น้อยและทางสังคมของประเทศ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม แอนด์ เอ็ม เลเวอร์ปริ้นต์.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2557). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประเมิน. ในประมวลสาระชุดวิชาวิธีวิทยาทางการประเมินการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การประเมินโครงการ :แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Nabeel, Hamdi and Reinhard, Goethert. (1997). Action Planning for Cities: A Guide to Community Practice. Chichester: John Wiley & Sons.

Stufflebeam, D. L., and Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.