แนวโน้มของการทำงานแบบดิจิทัล ที่กระทบองค์ประกอบทางทรัพยากรมนุษย์: การทบทวนหลักฐานในหน่วยงานราชการ

Main Article Content

ploypat konbang
Sunatcha Chaowai

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามการวิจัยดังต่อไปนี้ 1) ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการทำงานในช่วงสถานการณ์ covid-19 อย่างไร  2) การเปลี่ยนผ่านระบบดิจิทัลใหม่ส่งผลต่อการทำงานอย่างไร และ 3) HR มีบทบาทอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยหลักที่จะมีผลกระทบต่อพนักงานคืออะไร ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น แบบสอบถามแบบสุ่มตัวอย่าง จากกลุ่มประชากรตัวอย่าง 45 คนที่เป็นข้าราชการและมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไปเกี่ยวข้องกับงานฝ่ายบุคคล ในสำนักปกครอง 5 จังหวัดในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การหาค่าเฉลี่ยมัธยฐานและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้านความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า
           1.  พนักงานที่มีทัศนคติเพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนแปลงการจัดการเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกส่วนขององค์กร ทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
           2.  ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรปรับปรุงเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสายงานของตนเองและจะต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีนั้นให้เกิดประโยชน์และประสิทธิผลในการจัดการทรัพยากรมนุษย์มากที่สุด
           3.  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรขับเคลื่อนงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุดด้านใช้เทคโนโลยีต้องควบคู่กับความสุขและสมดุลในงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.48  รองลงมาคือการพัฒนาเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ย 4.02  และการทำงานในรูปแบบดิจิทัลค่าเฉลี่ย 4.0 โดยภาพรวมพบว่า พนักงานพึงพอใจกับแนวโน้มการทำงานด้านดิจิทัลที่ต่อปรับเปลี่ยนของฝ่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่เห็นด้วยในระดับดีที่ค่าเฉลี่ย 3.55

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Atkinson K. (2017). The alpha effect: why the civil service will soon need more part time roles. [Online]. Available from: https://www.employment-studies.co.uk/news/alpha-effect-why-civil-service-will-soon-need-more-part-time-roles.

Bradley J. (2022). Challenges faced by human resource managers because of technical changes. [Online]. Available from: https://smallbusiness.chron.com/challenges-faced-human-resource-managers-because-technical-changes-61058.html.

Berkery E, Morley MJ, Tiernan S, et al. (2017). On the uptake of flexible working arrangements and the association with human resource and organizational performance outcomes. Eur Manag Rev, 14(2), 165-183.

Bondarouk, T., & Brewster, C. (2016). Conceptualizing the future of HRM and technology research. The International Journal of Human Resource Management, 27(21), 2652-2671.

Chayamarit S. (2020). Human Resource Development to Accommodate the Public and Private Sector Organizations in the Digital Age. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 4(1), 38–50.

Frey, Carl Benedikt & Osborne, Michael A. (2017). The future of employment: How susceptible are jobs to computerization?, Technological Forecasting and Social Change. Elsevier, 114(C), 254-280.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. (2010). Multivariate data analysis: a global perspective. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Jesuthasan, R. (2017). HR’s new role: rethinking and enabling digital engagement. Strategic HR Review.

Kelliher, C., & Anderson, D. (2010). Doing more with less? Flexible working practices and the intensification of work. Human relations, 63(1), 83-106.

Thammaporn N. (2018). The Importance of Human Resource Research. Journal of Academic Research, 1(2), 121-136.

Thanasit P. (2021). Creating a good experience for job applicants. Recruitment trends that HR executives must know. Panyapiwat Journal, 13(1), 267-278.