การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พัชรมัย ไสลภูมิ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา  2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 22 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้  2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แผนการจัดการเรียนรู้  4) แบบทดสอบความรู้เรื่องระบบสุริยะของเรา  5) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
            1.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาที่พัฒนาขึ้นใช้ชื่อว่า “URACE Model” โดยมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ 1) หลักการ การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาซึ่งเป็นสถานการณ์หรือปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้านอกชั้นเรียน และนำข้อมูลมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน  2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ความสามารถในการแก้ปัญหา  3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา (U: Understand) ขั้นที่ 2 ทบทวนกรณีศึกษา (R: Reviewing) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา (A: Analyze)ขั้นที่ 4 สรุปผล (C: Conclusion) ขั้นที่ 5 ประเมิน (E: Evaluate)  4) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา  5) ปัจจัยและเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ครูต้องจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ และกรณีศึกษาที่ใกล้ตัวผู้เรียน ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีได้ง่ายและมีความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน และการเลือกกรณีศึกษาและปัญหาต้องสอดคล้องกับผู้เรียน พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.46/85.77
            2.  ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบสุริยะของเรา ของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X} = 26.36, S.D. = 1.56) สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (gif.latex?\bar{X} = 18.59, S.D. = 2.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 (gif.latex?\bar{X} = 84.09, S.D. = 4.76) และ 3) ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.38, S.D. = 0.53)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

__________. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เจษฎายุทธ ไกรกลาง. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานต่อการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา.

ถวัลย์รัชต์ ภู่สวาสดิ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชางานช่างไฟฟ้าสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 15(1), 76-84.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

__________. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณการบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 188-204.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้แนวในทศวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์, วาสนา วิสฤตาภา และนักรบ หมี้แสน. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วทัญญู สุวรรณประทีป. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานและแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.

วินัย เพ็งภิญโญ. (2563). การพัฒนารูปแบบระบบจัดการเรียนรู้ตามแผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีส่วนเสริมด้วยกรณีศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา.

วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: เพชรเกษม

พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคมแห่งศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรม การเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ตุลาคม 2562).

John Dewey. (1969). Philosophy, Education, and Reflective Thinking. In Thomas O.Buford Toward a Philosophy of Education, 180-183.

Joyce, B.R. and Weil, M. (1996). Models of teaching. (5th ed). New York: Prentice Hall.

Leman Tarhan, B.A. (2007, November). Problem–based Learning in an Eleventh Grade Chemistry Class : Factors Affecting Cell Potential. Research in Science and Technological Education of Mathematics, 25(3), 351–354.

Marian, B. M. (2011). The effects of small group cooperation methods and question strategies on problem solving skills, achievement, and attitude during problem-based learning. Ohio: The Kent State University Press.

Nabor, D. G. (1975, December). A comparative study of academic achievement and problem-solving abilities of blank pupils at the intermediate level on computer supported instruction and self-contained instructional program. Dissertation Abstracts International, 36(1), 3241-A.

Thorndike, RE. (1955). Measurement and Evaluation in Psychology and Education. New York: John Wiley and Sons.

Wong, K.H. (2011, September). A Comparative Study of Problem–Based and Lecture–Based Learning in Junior Secondary School Science. Faculty of Education University of Hong Kong, 10(39), 625–642.